2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

83 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ มาตรการ ทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร โดยคำตอบดังกล่าวนี้จะ นำมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ตำราวิธีการ วิจัย (Research Methodology) ที่ กำหนดไว้ ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์หาคำตอบ จึงได้ กำหนดระเบียบวิธีการ วิ จั ย เป็ น ก า ร วิ จั ย เชิ งคุณ ภ าพ (Qualitative Research) ป ร ะ ก อบ ด้ ว ย ก า ร วิ จั ย เอ ก ส า ร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้เกิด การผลักดันให้มีการ บังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับปัญหาการควบคุมอากาศยานไร้ คนขับที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และยกระดับการจัดการเพื่อประโยชน์กับเกษตรกรเทียบเท่าสากล เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักกฎหมาย ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ เกี่ยวข้องและต้องนำมาวิเคราะห์ อาทิ รายงานวิจัย ตำรา บทความของไทยและต่างประเทศ เอกสาร อื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรม เอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้นได้ กำหนด หัวข้อเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับ มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้ คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร เช่น ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) สมาร์ทฟาร์ม (smart farm) Thailand 4.0 เกษตรยังยืน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. (2561-2580) แผนพัฒนาการยั่งยืน (SDGs) และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อ ประโยชน์กับเกษตรกร ดังนี้ 1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2.พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 3.ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือ ปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 4.กฎหมายเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับของสหรัฐอเมริกา 5.กฎหมายเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับของประเทศแคนาดา 6.กฎหมายเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับของสาธารณรัฐสิงคโปร์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3