2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

84 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-Depth Interviews) ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ในกิจกรรมทางการเกษตร กำหนด ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผู้วิจัยดำเนินการ สร้าง แบบสัมภาษณ์โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายไทยและต่างประเทศที่ เกี่ยวข้องเพื่อนํามากำหนด เป็นกรอบในการสร้างแบบสัมภาษณ์ โดยมีลักษณะเป็นข้อคําถามที่ให้ แสดงความคิดเห็นเพื่อใช้เป็น แนวทางในการปรับปรุงกฎหมาย สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหรืออาสาสมัคร ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยโดยคัดเลือกผู้สมัครใจเข้าร่วม โครงการและให้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และเป็นการคัดเลือกแบบกระจายให้เกิดความ ยุติธรรมในการคัดเลือกอาสาสมัครอย่างทั่วถึง และมิได้เลือกเข้ามาเพียงเพราะเพื่อความสะดวกหรือ อยู่ในฐานะสมยอม แต่เป็นการคัดเลือกคุณสมบัติของอาสาสมัครที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรง กับงานวิจัย และ ดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลโดยแบ่งกลุ่มอาสาสมัคร 4 กลุ่ม รวมจำนวน 18 คน ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มประกอบอาชีพทั่วไป กลุ่ม เครือข่ายภาคีเพื่อการเกษตร ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียจากการใช้อากาศยานไร้ คนขับเกี่ยวกับการเกษตรเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้ามาให้ข้อมูล ใช้วิธีการเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ โดยตรงและโดยอ้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานการบินพลเรือน มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล และตรวจสอบด้าน ความปลอดภัยในการบินพลเรือนภาคพื้นและรวมถึงการรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาระบบ สหกรณ์รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิต และสินค้าเกษตรกรรม จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) มีหน้าที่เกี่ยวข้องใน การกำกับ ตรวจสอบและไกล่เกลี่ยการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จำนวน 2 คน อยู่ในเขตพื้นที่ของ อำเภอกระแสสินน์ และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา รวมจำนวน 6 คน 2.กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพชาวนา ผู้ประกอบอาชีพชาวสวน ผู้ประกอบอาชีพ สวนยาง ผู้ประกอบอาชีพสวนปาล์ม ที่มีความสนใจนำโดรนมาใช้เพื่อประยุกต์ใช้ทางการเกษตร รวม จำนวน 8 คน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3