2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

86 6.ท่านคิดว่าควรมีการควบคุมการใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เกี่ยวกับการเกษตรเพื่อ ป้องกันและระวังผลกระทบที่เกิดต่อบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมอย่างไร ส่วนที่ 3 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ หรือข้อเสนออื่นๆของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา กฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร ชุดที่ 2 กลุ่มเกษตรกร และ กลุ่มประกอบอาชีพทั่วไป ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ - วัน เวลา และสถานที่สัมภาษณ์ - ตําแหน่งหน้าที่การงาน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม และผู้มีส่วนได้เสีย ส่วนที่ 2 ประเด็นสัมภาษณ์ 1.ท่านมีความเข้าใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับการนำอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) มาใช้ทางการ เกษตรกรรมมากน้อยเพียงใด 2.ท่านคิดว่าอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) มีประโยชน์กับท่านมากหรือไม่ อย่างไร 3.ท่านคิดว่าหากนำโดรนมาใช้จะช่วยลดต้นทุนการเกษตรกรรมได้อย่างไรหรือไม่ 4.ท่านคิดว่าอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สามารถนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเกษตรได้หรือไม่ อย่างไร 5.ท่านทราบหรือไม่ ปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สามารถนำมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับ เกษตรกรรมอย่างหลากหลาย และถ้าหากนำอากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้ทางเกษตรกรรม ท่าน อยากให้ประยุกต์ใช้เกษตรกรรมประเภทใด 6.ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่มีการเพิ่มตัวแทนหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาดำเนินการลงทะเบียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ภายในจังหวัดของท่าน ส่วนที่ 3 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ หรือข้อเสนออื่นๆของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา กฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอากาศ ยานไร้คนขับเพื่อประโยชน์กับเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ตรวจสอบความตรง ของเนื้อหา (Content Validity) ของข้อคำถามแต่ละข้อเพื่อหาค่าความสอดคล้องของสิ่งที่ต้องการวัด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3