2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

90 ปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558 กำหนด ไว้ ข้อ 4 อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกตามประกาศนี้ ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท ตาม วัตถุประสงค์ของการนำมาใช้งาน กับกรณีต่างๆ ดังนี้ ประเภทที่หนึ่ง การนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเป็นงาน อดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา โดยกำหนดน้ำหนักแบ่งออกเป็น 2 ขนาด คือ อากาศยาน ไร้คนขับที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ประเภทที่สอง การนำอากาศยานไร้คนขับใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจาก ที่มีน้ำหนักไม่ เกิน 25 กิโลกรัม เพื่อการรายงานเหตุการณ์หรือรายงานการจราจร (สื่อมวลชน) เพื่อการถ่ายภาพ การถ่ายทำหรือการแสดงในภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ เพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน และ เพื่อการอื่น ๆ ประกอบกับ ข้อ 18 ผู้ใดประสงค์จะบังคับหรือปล่อยอากาศยาน ที่ควบคุมการบินจาก ภายนอก ที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม ให้ยื่นขออนุญาตต่ออธิบดีเป็นกรณีไป และจะบังคับหรือปล่อย อากาศยานได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่กำหนด จะเห็นได้ว่า ประกาศฉบับดังกล่าวในข้อ 4 ยังไม่กำหนดครอบคลุมถึงการนำ อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการเกษตรกรรมแต่อย่างไร ประกอบ กับ ข้อ 18 ที่มีการควบคุมเกี่ยวกับน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัมขึ้นไป จำเป็นต้องขออนุญาตต่ออธิบดีนั้น เห็นว่า เป็นการสร้างความยุ่งยากในการนำไปใช้ในการเกษตร เนื่องจาก ต้องใช้ระยะเวลานานใน กระบวนการขออนุญาตที่จะนำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน อีกทั้ง ผู้ขออนุญาตต้องเตรียมเอกสาร และหลักฐานจำนวนมาก รวมทั้งต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจใช้เวลาหลาย เดือน ในการได้รับอนุมัติ ซึ่งไม่ทันกับการนำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนมาใช้เพื่อทำการเกษตร อย่างเช่น การหว่านปุ๋ย การฉีดพ่นสารเคมีทางการเกษตร การให้ฮอร์โมนพืชหรือสารชีวภัณฑ์ นำเอา ไปใช้ในการกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการตรวจสอบศัตรูพืชและตรวจหาโรคของพืช นอกจากนี้ อากาศ ยานไร้คนขับหรือโดรนยังสามารถนำไปวัดปริมาณความหนาแน่นของพืช และการทำแผนที่เพื่อ การเกษตรโดยการนำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนมาช่วยทางด้านเกษตรกรรม ส่งผลให้เกษตรกร สามารถลดต้นทุนด้านแรงงาน และประหยัดเวลาในการทำการเกษตร อันเป็นประโยชน์ต่อผลผลิต ทางด้านการเกษตร เมื่อพิจารณากฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า กฎระเบียบหรือข้อบังคับเฉพาะ เรื่อง ของ ประมวลระเบียบของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา หรือ Code of Federal Regulations (CFR) กำหนดในบทที่ 14 ส่วนของ 107 สหรัฐได้แบ่งประเภทน้ำหนักของโดรนออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 โดรนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 0.55 ปอนด์ (0.25 กิโลกรัม) ประเภทที่ 2 โดรนที่มี น้ำหนักระหว่าง 0.55 ปอนด์ ถึง 5.5 ปอนด์ (0.25 ถึง 2.5 กิโลกรัม) โดรนประเภทที่ 1 และ 2 ไม่ จำเป็นต้องมีใบอนุญาตหรือลงทะเบียนกับ FAA ประเภทที่ 3 โดรนที่มีน้ำหนักระหว่าง 5.5 ปอนด์ ถึง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3