2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

92 MUA) ที่มีน้ำหนักระหว่าง 25 ถึง 250 กิโลกรัม และ ประเภทที่สามเป็นโดรนขนาดใหญ่ (Large Unmanned Aircraft: LUA) ที่มีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม โดยกฎระเบียบว่าด้วยอากาศยานไร้ คนขับฉบับนี้ กำหนดให้โดรนขนาดเล็กทางการเกษตร ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตหรือลงทะเบียนกับ Transport Canada แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของ Transport Canada เช่น บิน ในรัศมีสายตา (Visual Line of Sight: VLOS), บินไม่เกินระดับความสูง 400 ฟุต (122 เมตร), บิน ห่างจากผู้คนและทรัพย์สินอย่างน้อย 50 ฟุต (15 เมตร) ส่วนโดรนขนาดกลางและขนาดใหญ่ทาง การเกษตร กำหนดไว้ว่า ต้องได้รับใบอนุญาตจาก Transport Canada ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของ Transport Canada ซึ่งโดรนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ต้องมีใบอนุญาตผู้ควบคุม อากาศยานไร้คนขับเชิงพาณิชย์ ต้องมีใบอนุญาตผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับ และขณะเดียวกัน ทาง Transport Canada มีการกำหนดกฎระเบียบและข้อบังคับเพิ่มเติมสำหรับโดรนทางการเกษตรบาง ประเภท เช่น โดรนที่ใช้ฉีดพ่นสารเคมี โดรนที่ใช้ขนส่งสินค้า แสดงให้เห็นว่าประเทศแคนาดาได้นำ อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน มาใช้เพื่อทางการเกษตรและขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อพิจารณากฎหมายสาธารณรัฐสิงคโปร์ พบว่า รัฐบาลของสิงคโปร์เห็น ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร โดยได้มีการออกกฎหมายและกฎระเบียบ ต่างๆ เพื่อส่งเสริมและกำกับดูแลการใช้โดรนทางการเกษตรอย่างปลอดภัย พร้อมช่วยเป็นส่วนหนึ่งใน การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรอนาคต ซึ่งน้ำหนักการใช้งานโดรนของ สิงคโปร์ ถูกควบคุมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ ค.ศ.1966 และ สำนักงานการบินพลเรือนแห่ง สิงคโปร์ (CAAS) โดยกำหนดว่า น้ำหนักการใช้งานโดรนของสิงคโปร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ประเภทแรก โดรนสำหรับงานอดิเรก (Recreational drones) โดรนที่ใช้ในการสันทนาการหรือ เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว โดรนประเภทนี้ต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม และประเภทที่สอง การนำโด รนมาใช้เชิงพาณิชย์ (Commercial drones) ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดรนประเภทนี้ต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม ถ้าหากมีการใช้งานน้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม จะต้อง ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งสิงคโปร์ (CAAS) ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และ สิงคโปร์ เรื่อง ประเภทและวัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร พบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการกำหนดประเภทน้ำหนักการใช้งานโดรนทางการเกษตรแยกเป็น 2 ประเภท โดรนทางเกษตร ขนาดเล็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตหรือมีการลงทะเบียน FAA อาจจะ เหมาะสำหรับการทำเกษตรขนาดเล็กกระทัดรัด และ โดรนทางเกษตรขนาดใหญ่ที่มีขนาดเกิน 25 กิโลกรัม ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตจาก FAA และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของ FAA ที่ กำหนดไว้สำหรับโดรนขนาดใหญ่ เช่น ต้องมีใบอนุญาตนักบินโดรนเชิงพาณิชย์ (Commercial Pilot Certificate), ต้องมีใบอนุญาตผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับเชิงพาณิชย์ (Remote Pilot Certificate)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3