2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

93 เป็นต้น อาจจะเหมาะสำหรับการทำการเกษตรที่มีขนาดใหญ่ และเชิงพาณิชย์ ประเทศแคนาดา มี การกำหนดประเภทน้ำหนักการใช้งานโดรนทางการเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ โดรนขนาดเล็ก (Small Unmanned Aircraft: SUA) โดรนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 25 กิโลกรัม โดรนขนาดกลาง (Medium Unmanned Aircraft: MUA) โดรนที่มีน้ำหนักระหว่าง 25 ถึง 250 กิโลกรัม และ โดรน ขนาดใหญ่ (Large Unmanned Aircraft: LUA) โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม จะต้องได้รับใบอนุญาต จาก Transport Canada และ ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของ Transport Canada ที่ กำหนดไว้สำหรับโดรนขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น ต้องมีใบอนุญาตผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับ เชิงพาณิชย์ ต้องมีใบอนุญาตผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับระดับ 1 ต้องมีใบอนุญาตผู้ควบคุมอากาศ ยานไร้คนขับระดับ 3 เป็นต้น ประเทศสิงคโปร์ มีการกำหนดประเภทน้ำหนักการใช้งานโดรนทาง การเกษตรแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทแรก โดรนสำหรับงานอดิเรก (Recreational drones) โดรนที่ใช้ในการสันทนาการหรือเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว โดรนประเภทนี้ต้องมีน้ำหนักไม่ เกิน 250 กรัม และประเภทที่สอง โดรนเชิงพาณิชย์ (Commercial drones) โดรนที่ใช้ในการ ประกอบอาชีพหรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดรนประเภทนี้ต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม หากเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศไทย ไม่ได้มีการกำหนดประเภทและวัตถุประสงค์ การใช้งานทางด้านการเกษตรไว้อย่างชัดเจน มีเพียงกำหนดให้อากาศยานที่ควบคุมการบินจาก ภายนอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเป็นงานอดิเรก ความ บันเทิง หรือการกีฬา มีขนาดน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และ ที่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม และ ประเภทที่สอง ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจาก (1) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม หาก นำเอากฎระเบียบและข้อบังคับการใช้งานอากาศยานไร้คนขับของประเทศสหรัฐอเมริกามา แก้ไข เพิ่มเติมประเภทน้ำหนักการนำโดรนไปใช้ในทางการเกษตร ลงในประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศ ยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 จะช่วยให้สามารถนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประเภทน้ำหนักการใช้งานโดรนทางการเกษตรต่อประเทศไทยได้ อย่างเหมาะสม ผลการสัมภาษณ์ จากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานการบินพลเรือน เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช) ประเด็นปัญหาประเภทการใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร ให้ความเห็น แนวทางเดียวกันว่า การจะเพิ่มน้ำหนักอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนให้มากกว่า 25 กิโลกรัมในการ นำไปใช้เพื่อการเกษตร ไม่เป็นอุปสรรคในการจดทะเบียน เพราะการขึ้นทะเบียนใช้งาน ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์และคุณสมบัติการใช้งานโดรน น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะเกิดจากอุปกรณ์เสริมที่ จำเป็นต้องติดตั้ง และต้องพิจารณาถึงมาตรฐานอากาศยานไร้คนขับต่อระดับความสูงของพื้นที่ในขณะ ทำการบิน และ รูปแบบการบินที่จะนำมาใช้ในทางเกษตรเฉพาะเห็นว่า ไม่เป็นอุปสรรคในการจด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3