2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

94 ทะเบียน หากเอื้อประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยต่อกลุ่มเกษตรกรมาก นอกจากนี้ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้โดรนในการประกอบอาชีพ และ กลุ่มเครือข่ายภาคีเพื่อการเกษตร ให้ข้อเสนอแนะว่า ทิศทางเดียวกันว่า การเพิ่มน้ำหนักอากาศยานไร้คนขับที่มากกว่า 25 กิโลกรัม ควรผ่านการตรวจสอบ ตามที่กฎระเบียบกำหนด เพื่อลดอัตราความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเมื่อนำโดรนเอาไปใช้งานทาง การเกษตร จากการวิเคราะห์เอกสาร และผลสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับประเด็นประเภทและ วัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร ผู้วิจัยเห็นว่า หากนำเอากฎระเบียบและ ข้อบังคับการใช้งานอากาศยานไร้คนขับของประเทศสหรัฐอเมริกา มาแก้ไขเพิ่มเติมในประกาศ กระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่ง ไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 โดยเพิ่มข้อความในข้อ 4 “(3) ประเภทที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการเกษตร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (ก) ประเภทน้ำหนักที่มี ขนาดเล็กไม่เกิน 25 กิโลกรัมไม่ต้องได้รับใบอนุญาตหรือลงทะเบียน (ข) ประเภทน้ำหนักที่มีขนาด ใหญ่เกิน 25 กิโลกรัม ต้องได้รับใบอนุญาตหรือลงทะเบียนก่อนนำไปใช้ หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงคมนาคมฉบับดังกล่าว ย่อมจะส่งผลดีต่อ เกษตรกร ที่นำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนไปใช้ในทางเกษตรกรรม จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรหัน มาใช้เทคโนโลยีโดรนที่ทันสมัยใหม่มากขึ้น 4.1.2 กรณีวัตถุประสงค์การใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร สำหรับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับ คือ ผู้ประกอบการ ประชาชน และ กลุ่มคนอื่น ๆ มีการยื่นขออนุญาตการใช้งานอากาศยานไร้คนขับจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีความ หลากหลายในประเภทและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน กรณีของการขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับ เพื่อการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันเห็นว่าการขอขึ้นทะเบียนการใช้งานอากาศยานไร้คนขับประกอบกับ วัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อการเกษตร ซึ่งถ้าหากรวมน้ำหนักของสารเคมี ส่วนใหญ่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม เมื่อย้อนไปดูการขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับใช้งานอากาศยานไร้คนขับ ตามประกาศกระทรวง คมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน กรณีลงทะเบียนการใช้งานอากาศยานไร้คนขับมีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม จะต้องได้รับอนุญาตเป็น รายกรณีจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งขั้นตอนและระยะเวลาในการขออนุญาตค่อนข้าง ยุ่งยากและใช้เวลานาน ส่งผลให้เกษตรกรที่สนใจนำโดรนมาใช้ในการทำเกษตรมีความกังวลและลังเล ที่จะลงทุน และ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่หันมาใช้โดรนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 25 กิโลกรัมแทน ซึ่ง โดรนกลุ่มนี้มักมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพและความสามารถในการบรรทุกน้ำหนัก ทำให้ไม่สามารถ ทำงานเกษตรบางประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพ่นสารเคมีในพื้นที่ขนาดใหญ่ ดังนั้น ผู้ทำวิจัยเห็นถึงปัญหาทางกฎหมาย ในการปรับปรุงกฎระเบียบประเด็นการใช้งาน เรื่องของการขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3