2566-3-ปวินท์ พุกจีน-วิทยานิพนธ์

96 กิโลกรัม เพื่อการอื่น ๆ ประกอบกับ ข้อ 18 ผู้ใดประสงค์จะบังคับหรือปล่อยอากาศยานที่ควบคุมการ บินจากภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม ให้ยื่นขออนุญาตต่ออธิบดีเป็นกรณีไป และจะบังคับหรือ ปล่อยอากาศยานได้ต่อเมื่อได้รับ อนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด วิธีการนี้อาจสร้างความยุ่งยากและใช้เวลานานในกระบวนการขออนุญาต ใช้งานโดรน 25 กิโลกรัมขึ้นไป เพราะสืบเนืองจากผู้ขออนุญาตต้องเตรียมเอกสารและหลักฐาน จำนวนมาก รวมทั้งต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะ ได้รับการอนุมัติ ดังนั้น ผู้วิจัยเล็งเห็นว่า ถ้าหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมประเภทวัตถุประสงค์การนำโดรนไป ใช้ในทางการเกษตร ลงในประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงือนไขใน การบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้งานโดรนในทาง การเกษตรได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับ กลุ่มเกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้โดรนในทางการเกษตร ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากขั้นตอนในการขออนุญาตจะง่ายและใช้เวลาน้อยลง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. (2561-2580) และ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ เป็นการพัฒนาที่ตอบสนองต่อความ ต้องการโดยไม่ทำให้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของอนาคตลดลง ทั้งสองแนวทางมี ความเกี่ยวข้องกัน โดยยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นการกำหนดเป้าหมายพัฒนาของประเทศไทยใน ระยะยาว ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง ในขณะเดียวกัน SDGs จะกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก ครอบคลุมประเด็นต่างๆ 17 เป้าหมาย ทำให้ ทั้งสองแนวความคิดนี้จึงสามารถส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน แนวความคิดดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) แนวความคิดสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) และ แนวความคิดเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งสามต่างมีแนวคิดที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ พัฒนาประเทศ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยดิจิทัลไทยแลนด์มุ่งเน้นไปที่การผลักดันให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดิจิทัล ขณะที่สมาร์ทฟาร์มจะมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ใน ภาคเกษตรกรรม และ เป็นอีกแรงขับเคลื่อนหนึ่งในการส่งเสริมทางแนวคิดเกษตกรรมยั่งยืน เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต และมูลค่าเพิ่ม ของสินค้าทางเกษตร ดังนั้นทำให้ทั้งสามแนวคิดมีความสัมพันธ์ ที่ส่งเสริมและผลักดันพร้อมกัน แนวความคิดการรับรู้ประโยชน์ และ แนวความคิดการรับรู้ความง่าย ในการใช้งาน แนวความคิดทั้งสอง มีความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เนื่องจากเป็น ตัวกำหนดว่าผู้ใช้งานจะยอมรับและนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งาน หากผู้ใช้งานรับรู้ว่ามีการใช้งานที่ง่าย จะส่งผลให้ผู้ใช้งานมีโอกาสจะยอมรับและนำเอามาใช้งานประยุกต์เพิ่มมากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3