2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

103 การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่เป็น Pudgalika Property จะตกเป็นทรัพย์สิน ของวัดเมื่อพระภิกษุมรณภาพแล้วหรือไม่นั้น จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้ 1. จะต้องได้รับมาเป็นการส่วนตัว 2. การได้รับมานั้นจะต้องเป็นการได้รับมาเพื่อใช้เป็นการส่วนตัว 3. ทรัพย์สินเหล่านั้นจะต้องยังไม่ได้ถูกโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างที่พระภิกษุยัง มีชีวิตอยู่ หากมีองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อนี้อยู่ครบในเวลาที่พระภิกษุมรณภาพทรัพย์สิน เหล่านั้นจะกลายเป็นทรัพย์สินของวัด ซึ่งการบัญญัติให้ “ถือว่า” เป็นทรัพย์สินของวัด มีผลทำให้เกิด ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและเกิดหน้าที่ในการพิสูจน์แก่ผู้ที่อ้างว่าทรัพย์สินเหล่านั้นไม่ควรกลายเป็น ทรัพย์สินของวัด มีข้อสังเกตว่า ทรัพย์สินที่จะเป็น Pudgalika Property ที่จะถือว่าเป็นทรัพย์สินของ วัดได้ จะต้องเกิดจากการ “ได้รับมา” ของพระภิกษุ ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่พระภิกษุรับมรดกดังตอนท้าย ของมาตรา 23 ที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจน(Wickrema Weerasooria, 2011) คดีความที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวกับประเด็นของ Pudgalika Property นั้นมักจะ เกิดจากการโต้แย้งในปัญหาเรื่ององค์ประกอบข้อ 2 และข้อ 3 โดยในส่วนขององค์ประกอบข้อ 3 นี้ มักจะเกิดเป็นประเด็นปัญหามากที่สุด ตัวอย่างเช่น การพิพาทกันว่าการกระทำตามข้อเท็จจริงเป็น การโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างที่พระภิกษุยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ซึ่งคำพิพากษาของศาลส่วนใหญ่เป็นไปใน แนวทางเดียวกันว่า การทำพินัยกรรมกับทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุไม่ใช่การโอน กรรมสิทธิ์ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ ทำให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลายเป็นทรัพย์สินของวัดเมื่อพระภิกษุ มรณภาพ รวมไปถึงกรณีที่พระภิกษุตั้งผู้ที่จะรับเงินในบัญชีของตน (Nomination)(ในประเทศศรี ลังกา มีกฎหมายเกี่ยวกับธนาคารและสถาบันทางการเงินที่อนุญาตให้บุคคลอายุ 16 ปีขึ้นไป สามารถ เสนอชื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในเงินเหล่านั้นได้เรียกว่า “Nomination” เมื่อ ได้ตั้งผู้รับผลประโยชน์แล้ว ผู้รับผลประโยชน์นั้นจะมีสิทธิในเงินเหล่านั้นถึงแม้ว่าจะขัดกับพินัยกรรม ของผู้ตั้งผู้รับผลประโยชน์ก็ตาม ซึ่งผู้ตั้งผู้รับผลประโยชน์สามารถบอกเลิกสถานะของบุคคลผู้เป็นผู้รับ ผลประโยชน์ได้ทุกเมื่อในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่)ก็ไม่ถือว่าเป็นการโอนเงินในระหว่างมีชีวิต เพราะสิทธิ ในการเกิดผู้ที่จะรับเงินในบัญชี จะเกิดผลก็ต่อเมื่อพระภิกษุมรณภาพแล้วเท่านั้น มีคำพิพากษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพิพาทกันระหว่างวัดสองวัดที่อ้างว่าวัด ตน มี สิ ท ธิ ใน ก า ร รับ เงิน ข อ งพ ร ะ ภิ ก ษุ ที่ ม รณ ภ าพ อ ยู่ ใน ค ดี Dewarakkita Unnanse v SumangalaUnnanse (1936) CLW 43 โดยมีประเด็นพิพาทว่าวัดใดเป็นเป็นวัดที่พระภิกษุสังกัดอยู่ (belonged)ในขณะที่มรณภาพ ซึ่งผู้พิพากษา Dalton ได้ตัดสินไว้ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3