2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

104 1. การที่พระภิกษุออกจากวัดที่เคยจำวัดเมื่อครั้งอุปสมบท และเดินทางไปจำ วัดอยู่ยังวัดแห่งอื่นโดยที่ไม่ได้สนใจและไม่ได้กลับไปยังวัดเดิมอีกเลยจนกระทั่งมรณภาพนั้นไม่สามารถ ถือได้ว่าพระภิกษุที่มรณภาพนั้นสังกัดอยู่กับวัดแรกที่เคยอุปสมบท 2. การตีความคำว่าสังกัดอยู่ (belonged) ตามมาตรา 23 นั้น จะต้องตีความ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในขณะที่พระภิกษุมรณภาพข้อเท็จจริงในคดีนี้มีอยู่ว่า พระภิกษุที่ชื่อ Wimalananda Theroมี Pudgalika Property ที่เป็นเงินมูลค่า 5000 รูปีศรีลังกา โดยที่ไม่ได้โอน กรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ใดในระหว่างมีชีวิต และเงินจำนวนนี้ไม่ได้เป็นเงินที่รับมาทางมรดก แต่ได้รับมาจาก การทำอายุรเวชโดยวัดทั้งสองวัด คือ วัด Niyamgampaya และ วัด Weligampola ต่างอ้างว่าวัดตน เป็นผู้มีสิทธิได้เงินจำนวนดังกล่าวของพระ Wimalananda Thero ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่าพระ Wimalananda Theroได้ออกจากวัด Niyamgampaya มาเป็นระยะเวลากว่า 7 ปี และใช้เวลาจำวัด อยู่ที่วัดอื่น แต่ โดยส่วนมากจะจ ำวัดอยู่ที่วัด Weligampola อีกทั้ งหลั งจากออกจากวัด Niyamgampaya แล้ว พระ Wimalananda Theroก็ไม่เคยให้ความสนใจกับวัด Niyamgampaya อีกเลย ผู้พิพากษา Dalton จึงตัดสินว่า พระ Wimalananda Theroสังกัดอยู่วัด Weligampola และวัด Weligampola มีสิทธิในการรับ pudgalika ของพระ Wimalananda Thero(Wickrema Weerasooria, 2011) ในประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นเงินนั้น มีคำพิพากษาในคดีIndrasumana Thero v Kalapugama Upali (1966) 10NLR359 ที่แสดงให้เห็นว่าทั้งนักกฎหมายและนักธนาคาร หรือแม้กระทั่งผู้พิพากษาบางท่าน ไม่ได้คำนึงถึงหลักการในกฎหมายที่เกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลที่ว่า มันไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาในประเทศศรีลังกาที่พระภิกษุจะทำการฝากเงินในบัญชี ธนาคารในนามส่วนตัวของตนเองกับธนาคาร ซึ่งเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวแล้วจะทำให้เกิดปัญหาว่าเมื่อ พระภิกษุมรณภาพโดยที่ไม่ได้กำหนดผู้รับเงินในบัญชีธนาคาร เงินในบัญชีนั้นควรจะตกได้แก่ใคร ซึ่ง โดยปกติแล้ว หากลูกค้าธรรมดาที่เป็นฆราวาสถึงแก่ความตาย เงินในบัญชีจะตกได้แก่ผู้แทนตาม กฎหมายของผู้ตายนั้น แต่ในกรณีที่ผู้ตายเป็นพระภิกษุ กฎหมายที่จะนำมาปรับใช้คือBuddhist Ecclesiastical Law ดังนั้น ตามมาตรา 23 แห่ง The Buddhist Temporalities Ordinanceกรณีที่ พระภิกษุเปิดบัญชีธนาคารและได้นำเงินที่ได้รับมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศฝากไว้กับธนาคาร เพื่อใช้สอยส่วนตัว เงินในบัญชีนั้นจะถือว่าเป็น Pudgalika Property และถ้าหากพระภิกษุไม่ได้ จำหน่ายจ่ายโอนเงินนั้นให้แก่ผู้ใด เมื่อถึงแก่มรณภาพ เงินจะตกอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าอาวาสวัดที่ พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่(Wickrema Weerasooria, 2011, p. 507) โดยสรุป มาตรา 23 แห่ง The Buddhist Temporalities Ordinance, 1931กล่าวถึงเรื่องของการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุที่มรณภาพ แต่ถึงแม้ว่าบทบัญญัติ ดังกล่าวจะไม่ได้กล่าวถึงการจัดการทรัพย์สินของพระภิกษุโดยตรง แต่ก็ตีความจากบทบัญญัติของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3