2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
106 รูปแบบของการบริหารจัดการทรัพย์สิน เจ้าอาวาสผู้มีอำนาจแห่งวัดนั้นๆ ตามมาตรา10 แห่งกฏบัญญัติทรัพย์สินทางวัดพุทธ เสนอชื่อผู้จัดการทรัพย์สินไปยังผู้จัดการทรัพย์สิน มหาชนหรือเรียกว่าผู้จัดการทรัพย์สินแห่งชาติ(Public Trustee) และเปิดโอกาสให้เจ้าอาวาสสามารถ เสนอชื่อตัวเองเป็นผู้จัดการทรัพย์สินได้ และก็มีเจ้าอาวาสหลายรูปเสนอตัวเองเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน และตามกฎบัญญัติทรัพย์สินทางวัดพุทธ พ.ศ. 2474 วิหาราธิปติ คือพระภิกษุผู้เป็นใหญ่แห่งวัด ที่ ไม่ใช่เทวาลัยหรือโกวิล(วัดฮินดูขนาดเล็ก) ถึงแม้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั่นหรือไม่ก็ตาม ตามวรรค 4(2) การจัดการทรัพย์สินของวัดทุกวัดยกเว้นวัดที่ไม่ได้รับการยกเว้นตามข้อบังคับแห่งกฏบัญญัติทรัพย์สิน ทางวัดพุทธ เป็นภาระของวิหาราธิปติ (เจ้าอาวาส) (Wickrema Weerasooria, 2011) อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติทรัพย์สินวัดพุทธ เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส หรือ ผู้จัดการทรัพย์สินของวัดที่เสนอชื่อโดยเจ้าอาวาสซึ่งเจ้าอาวาสยังสามารถเป็นผู้จัดการทรัพย์สินได้ด้วยเมื่อ เจ้าอาวาสเป็นผู้มีอำนาจหรือผู้ดูแลทรัพย์สินทั้งหมดของวัด แต่ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัด ผู้จัดการทรัพย์สินหรือเจ้าอาวาสผู้มีอำนาจในการดูแลทรัพย์สินของวัดสามารถฟ้องและถูกฟ้องได้ตาม ตำแหน่งที่ครอบครองและดูแลทรัพย์สินนั้น (Mahinda Ralapanawe, 2011) ประเด็น การลงทุน และการเบิกจ่าย วัดสามารถใช้ทรัพย์สินของตน สําหรับ การเช่าและการจํานองทรัพย์สินของวัด กฎหมายอนุญาตให้วัดสร้างรายได้จัดหาเงินทุนสําหรับ โครงการที่จําเป็นและซื้อที่ดินหรือทรัพย์สินเพิ่มเติมในขณะเดียวกันก็มั่นใจได้ว่าการทําธุรกรรมเหล่านี้ จะดําเนินการในลักษณะที่โปร่งใสตรวจสอบได้และมีความรับผิดชอบ เนื่องจากเช่าหรือจํานอง ทรัพย์สินของวัดต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะก่อน คือ 1.หัวหน้าผู้ดํารงตําแหน่งในพุทธนิกายที่เกี่ยวข้องจะต้องให้การอนุมัติ ล่วงหน้าสําหรับการทําธุรกรรม 2. ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลแขวงซึ่งอยู่ในเขต อํานาจศาลที่วัดตั้งอยู่ 3. ต้องแจ้งให้สาธารณชนทราบถึงธุรกรรมที่เสนอเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถคัดค้านได้ 4.เงื่อนไขของสัญญาเช่าหรือสัญญาจํานองต้องเป็นธรรมและสมเหตุสมผล เพื่อให้แน่ใจว่าวัดได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและทรัพย์สินจะไม่ถูกโอนในราคาที่ต่ำกว่าเพื่อให้แน่ใจ ว่าธุรกรรมเหล่านี้ดําเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของวัด นอกจากนี้ มีการกํากับดูแลโดยกรรมาธิการ กิจการพระพุทธศาสนา ซึ่งอธิบดีกรมพระพุทธศาสนามีอํานาจกํากับดูแลธุรกรรมการเช่าซื้อและการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3