2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

122 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 66ที่ระบุว่า “นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและ หน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติ หรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง” และมาตรา 70 วรรคสอง ระบุว่า ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดย ผู้แทนของนิติบุคคล จะเห็นว่าเมื่อวัดมีสถานะเป็นนิติบุคคล วัดจึงมีสิทธิและหน้าตามกฎหมายเสมือน บุคคลธรรมดา การที่เจ้าอาวาสทำนิติกรรมกับบุคคลอื่นภายในขอบวัตถุประสงค์ การนั้นย่อมผูกพัน วัด ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เจ้าอาวาสได้มาในฐานะตัวแทนของวัดควรตกเป็นของวัด (ไพโรจน์ กัมพูสิริ, 2564) 2.16.3 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องของวัดว่ามาตรา 31 วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (2) สำนัก สงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป โดยที่มาตรา 37 เจ้า อาวาสมีหน้าที่ ดังนี้(1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี (2) ปกครอง และสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม (3) เป็นธุระในการศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรชิตและคฤหัสถ์ (4) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล และมาตรา 38 เจ้าอาวาสมีอำนาจ ดังนี้ (1) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้า อาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด (2) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสีย จากวัด (3) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัด หรือให้ทำทัณฑ์ บนหรือให้ขอขมาโทษในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดย ชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม มาตรา 45 ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้า พนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา(พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535,ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 16.4 มีนาคม 2535, n.d.) แต่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของทรัพย์สินของ พระภิกษุหรือความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ของพระภิกษุไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น สิทธิทาง ทรัพย์สินของพระภิกษุ และความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ของพระภิกษุ จึงเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังเช่นบุคคลธรรมดาทั่วไป(ฤดีมาศ พรมอารักษ์, 2564; วัลทณา แสงไพศรรค์, 2552)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3