2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
127 ประโยชน์อย่างเป็นระบบ 5. ภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า มีเงินหมุนเวียนในรูปของรายได้และรายจ่ายของ ระบบวัดอยู่ ประมาณ 100,000 -120,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่การจัดทำบัญชีและตรวจสอบยัง ไม่มีระบบที่ชัดเจน 6. การบริหารจัดการทางด้านการเงินของวัดควรยึดหลักธรรมาภิบาล หรือการ บริหารกิจการที่ดีในการบริหารจัดการ 7. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติยังขาดบทบาทในการกำหนดกรอบในการกำกับดูแลให้การบริหารจัดการทางการเงินของวัด สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล 8. องค์ประกอบสำคัญของหลักธรรมาภิบาลที่สอดคล้องกับการดำเนิน กิจการของวัด ได้แก่ ความรับผิดรับชอบ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใส หลักนิติธรรม และหลัก คุณธรรม ในขณะที่องค์ประกอบอย่างหลักความเสมอภาค หลักสนองตอบรับ และหลักความคุ้มค่า อาจจะมีน้ำหนักไม่มากนักกับการบริหารจัดการของวัด 9. การศึกษาความสอดคล้องของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับที่มีอยู่ พบว่า ยังมีกรอบในการกำกับดูแลที่ขาดแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้ ผู้บริหารวัดสามารถที่จะดำเนินการได้สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาลรวมถึงปัญหาอุปสรรคสำคัญ ของการบริหารจัดการทางด้านการเงินให้สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล คือ การขาดความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดี และหลักการบริหารการเงินของผู้มีอำนาจหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายให้ดำเนินการภายในวัด(ณดา จันทร์สม, 2555) ทินพันธ์ นาคะตะ เขียนไว้ในพระพุทธศาสนากับสังคมไทย โดยกล่าวว่าพระสงฆ์เป็นตัวแทนของ สถาบันศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาตลอดและมีอิทธิพลต่อการกระตุ้นหรือแนะนำให้เกิดกิจกรรม ในทางสังคมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างมาก ดังนั้นพระสงฆ์จึงมีความสำคัญยิ่งตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าพระสงฆ์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวบ้าน มีบทบาทสำคัญในการแนะนำ ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวไทยเป็นส่วนใหญ่ทั้งทางด้านศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม จึง อ้างกล่าวได้ว่าพระสงฆ์เป็นสถาบันที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของพุทธศาสนิกชน นอกจากจะเป็นที่ พึ่งทางด้านจิตใจและเป็นสถาบันที่เอื้ออำนวยในการปฏิบัติธรรมทางศาสนาแล้วยังทำหน้าที่ให้บริการ อื่นๆ ที่กลไกของรัฐเข้าไปให้บริการไม่ทั่วถึงเพื่อประโยชน์สุขของพุทธศาสนิกชน ถ้ามองถึงบทบาท ของพระสงฆ์กับสังคมไทย จะเห็นว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้นได้มีบทบาทในสังคมมาตั้งแต่อดีต โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นงานสวัสดิการสังคมที่ส่งเสริมคุณภาพจิตใจ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมและทั้ง ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการเน้นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาใน ด้านต่างๆ เช่น พระพุทธศาสนากับงานสังคมสงเคราะห์พระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาสังคม พระพุทธศาสนากับการพัฒนาเด็กและเยาวชน เป็นต้น ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าว พระสงฆ์ถือว่าเป็น บุคลากรที่สำคัญของสังคมและได้ทำหน้าที่ในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้พระสงฆ์ไม่ได้ทำเฉพาะหน้าที่ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังได้ทำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3