2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

128 หน้าที่ในการช่วยเหลือสงเคราะห์สังคมในด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พระสงฆ์จะต้อง ปรับและเพิ่มบทบาทให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและ การเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมพระสงฆ์ย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ใด้ จึงต้องปรับบทบาทหน้าที่ของตนเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อ การสงเคราะห์ทางด้านจิตใจแก่ประชาชนจะได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและพระพุทธศาสนาจะ ได้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไปและถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมด้วย แต่ทว่าหน้าที่ในการสงเคราะห์ ประชาชนและสังคมทางด้านจิตใจนั้นเป็นหน้าที่ที่พระสงฆ์จะทำด้วยความสมัครใจและความเสียสละ พระสงฆ์รูปใดจะทำหน้าที่นี้หรือไม่ทำก็ได้ เนื่องจากมิได้เป็นการกระทำผิดวินัยแต่อย่างใด(ทินพันธุ์ นาคะตะ, 2529) ไพบูลย์ นิลรัตนโกศล ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ทรัพย์มรดกของพระภิกษุ” ในประเด็นเรื่องทรัพย์สิน ที่ได้มาหลังจากที่พระภิกษุมรณภาพ เช่น เงินบริจาคช่วยงานศพ เงินที่ได้จากการให้เช่าวัตถุมงคลของ พระภิกษุ เป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และต้องตกได้แก่ใคร อธิบายไว้ว่าทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาใน ระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น แม้พระภิกษุจะไม่รับ ให้รับหรือยินดีให้เขาเก็บไว้ในนามของ พระภิกษุโดยตรง แต่ก็ควรจะให้ไวยาวัจกร มัคนายกหรือคฤหัสถ์เป็นผู้รับ ให้รับหรือให้เก็บไว้ในนาม ของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้นหรือของวัดที่พระภิกษุนั้นเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจและพำนัก อยู่ที่วัดดังกล่าวนั้นโดยตรงตามวัตถุที่ประสงค์อันแท้จริงของพระภิกษุนั้น เพื่อประโยชน์อันจะตก ได้แก่วัดนั้นๆ ตามกฎหมายโดยเร็วต่อไป และแม้การให้ไวยาวัจกร มัคนายกหรือคฤหัสถ์เป็นผู้รับ ให้ รับหรือให้เก็บไว้ในนามของวัดอาจจะทำให้การดำเนินการนำทรัพย์สินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของ พุทธศาสนิกชนผู้มาร่วมทำบุญถวายจตุปัจจัยเนินช้าไปบ้าง เนื่องจากจะต้องผ่านขั้นตอน กระบวนการ พิจารณาของคณะกรรมการวัด รวมทั้งอาจต้องถูกตรวจสอบจากทางราชการด้วย แต่ก็เป็นเพียง ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจนและโปร่งใสตามกฎหมายเท่านั้น และก็ยังเป็นที่ เชื่อได้แน่ว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะตกได้แก่วัดนั้นๆ ตามวัตถุที่ประสงค์ของพระภิกษุ และจะได้มีการนำ ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นไปใช้ตามวัตถุที่ประสงค์ของพุทธศาสนิกชนผู้มาร่วมทำบุญถวายจตุปัจจัยเพื่อ ประโยชน์แก่วัดนั้นๆ และพระพุทธศาสนาโดยรวมได้อย่างแท้จริงเป็น นอกจากนี้ พระภิกษุยังมีแหล่งที่มาของทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจากรัฐ เป็นเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง หรือเงินช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น และจากการที่มีพุทธศาสนิกชน จำนวนมากมาทำบุญด้วยแก่พระภิกษุดังกล่าว ทำให้พระภิกษุได้มาซึ่งทรัพย์สิน ทั้งที่เป็น สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก และพระภิกษุนั้นเองก็อาจจะนำเอาทรัพย์สินซึ่งได้มา ดังกล่าวไปจำหน่ายโดยการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าต่อไป เป็นต้น ทำให้พระภิกษุได้มาซึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3