2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
129 ทรัพย์สิน รวมตลอดถึงดอกผลของทรัพย์สินนั้นทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์อีกเป็น จำนวนมาก และเมื่อพระภิกษุถึงแก่มรณภาพทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ใน สมณเพศนั้น จึงเป็นมรดกของพระภิกษุ(ไพบูลย์ นิลรัตนโกศล, 2558) มนัสวี เพชรย้อย ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การจำกัดสิทธิของพระภิกษุในการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก” ปัญหาว่าทรัพย์สินใดที่เป็นปัจจัยสี่หรือเป็นทรัพย์สินที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตหรือทรงห้ามถือเป็นเรื่อง ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องรู้โดยตรง เพราะหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของการอุปสมบทคือการศึกษาและทำ ความเข้าใจหลักพระธรรมวินัย เสมือนฆราวาสที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายบ้านเมืองจะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีบท กฎหมายเช่นนั้นไม่ได้ เช่นเดียวกันกับผู้บังคับใช้กฎหมายก็ต้องทราบประเด็นเรื่องทรัพย์สินที่พระภิกษุ จะสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้ ตามพระวินัยปิฎกและอรรถกถา เป็นกรณีไป ซึ่งในอนาคตอาจมีการจัด หมวดหมู่ประเภทของทรัพย์สินที่พระภิกษุสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้ในระหว่างอยู่ในสมณเพศ โดยสกัดจาก พระวินัยปิฎกและอรรถกถามาร้อยเรียงให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจและเข้าถึงได้โดยง่าย เสนอให้แก้ไขมาตรา 1622 “พระภิกษุจะฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดย ธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมไม่ได้ เว้นแต่จะสึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 แต่หากทรัพย์มรดกนั้นเป็นทรัพย์สินปัจจัยสี่ หรือทรัพย์สินที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้พระภิกษุฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องสึกจากสมณเพศ กรณีพระภิกษุจะฟ้อง เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกซึ่งมิใช่ทรัพย์สินปัจจัยสี่ หรือทรัพย์สินที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตในระหว่าง อยู่ใน สมณเพศและได้ร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ การพิจารณาทรัพย์สินปัจจัยสี่หรือทรัพย์สินที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ พิเคราะห์จากพระวินัยปิฎกและอรรถกถาในพระพุทธศาสนาเป็นรายกรณี” (มนัสวี เพชรย้อย, 2558) จาตุรนต์ ชุ่มชมภู ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาและการตก ทอดทรัพย์สินของพระภิกษุ” เป็นการศึกษาในประเด็นเรื่องชายที่ออกบวชในขณะที่มีภรรยาถูกต้อง ตามกฎหมายอยู่แล้ว ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การสมรสสิ้นสุดลง ทำให้เกิดปัญหากับสินสมรสที่เกิดมี ขึ้นในระหว่างที่ชายอยู่ในสมณเพศ เพราะกฎหมายให้สันนิฐานว่า ทรัพย์สินที่ชายได้มาในขณะที่อยู่ใน สมณเพศจนถึงแก่มรณภาพ ถือเป็นสินสมรสตามกฎหมาย จะขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1623 หรือไม่ การตกทอดทรัพย์สินของพระภิกษุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623 นี่ที่วาง หลักว่าทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างอุปสมบทนั้นโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ถือว่า เป็น ทรัพย์สินของพระภิกษุโดยเฉพาะซึ่งพระภิกษุอาจได้รับทรัพย์สินมาตามมาตรา 1622 ตามวรรค หนึ่ง และวรรคสอง ทรัพย์สินที่ศาสนิกชนหรือเครือญาติต้องการถวายทำบุญให้กับพระภิกษุถึงแม้ว่าจะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3