2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

130 ถวายให้กับพระภิกษุโดยเฉพาะก็ตามหรืออาจจะเป็นในกรณีที่ศาสนิกชนหรือเครือญาติต้องการยก ทรัพย์สินของตนให้กับพระภิกษุในฐานะบุคคลโดยไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยอาจเป็นความพึ่ง พอใจเป็นการส่วนตัวหรือเป็นการได้ทรัพย์สินมาโดยทางอื่นอย่างเช่นได้รับดอกเบี้ยจากสินส่วนตัวที่ ได้มาก่อนอุปสมบทโดยพระภิกษุได้นาเงินไปฝากธนาคารเป็นต้น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ที่ได้มาใน ระหว่างอุปสมบทนี้ถ้าหากภายหลังพระภิกษุมรณภาพทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอุปสมบททั้งหมดนั้น ตกทอดแก่ของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุตามมาตรา 1623 ข้อเสนอแนะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 1623 ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มา ในระหว่างอุปสมบทนั้นมีทั้งทรัพย์สินที่พระภิกษุได้จาก การทำบุญให้กับพระพุทธศาสนาและ ทรัพย์สินที่ได้มาในฐานะบุคคลที่ไม่เกี่ยวกับพระภิกษุตาม พระพุทธศาสนาตัวอย่างเช่นได้มาจากการ รับมรดกหรือได้มาโดยเสน่หาเมื่อญาติหรือบุคคลอื่น ต้องการยกทรัพย์สินให้เป็นสินส่วนตัวของ พระภิกษุโดยเฉพาะ เมื่อภายหลังพระภิกษุสึกออกมา ทรัพย์สินที่ได้มาในฐานะบุคคลที่ไม่เกี่ยวกับ พระภิกษุตามพระพุทธศาสนานั้นคือที่ได้มาจากการรับ มรดกหรือได้มาโดยเสน่หาดังกล่าวนี้พระภิกษุ สมควรนำทรัพย์สินมาใช้สอยภายหลังที่ท่านได้สึกออกมาแล้วและทรัพย์สินที่ได้จากการทำบุญ ดังกล่าวนั้นก็ควรตกเป็นของวัดที่พระภิกษุได้สังกัดตามที่ หนังสือสุทธิสำหรับพระภิกษุระบุไว้ว่าท่าน ได้สังกัดในวัดดังกล่าวนี้เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต่อไป(จาตุรนต์ ชุ่มชมภู, 2557) วรพจน์ ถนอมกุล บทความจากการวิจัยเรื่อง “สิทธิและหน้าที่ของวัดตามกฎหมายในฐานะผู้จัดการ มรดกและผู้จัดการทำศพของพระภิกษุ”กรณีที่เกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างทายาทของพระภิกษุที่มรณภาพ กับวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ เนื่องมาจากกฎหมายที่บังคับกับทรัพย์สินหรือทรัพย์มรดกของ พระภิกษุ คงมีเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่พระภิกษุ ได้รับมาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ คือช่วงที่บวช จนถึงวันมรณภาพนั้น ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่วัดที่เป็น ภูมิลำเนาของพระภิกษุ ผู้มรณภาพนั้น เว้นไว้แต่ว่าพระภิกษุจะได้ทำการจำหน่ายทรัพย์สินนั้น โดยการขาย หรือยกให้ หรือทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดไปในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้เป็นไปตามนั้น ทรัพย์สินส่วนนั้นไม่ ตกเป็นของวัดแต่อย่างใด แต่ในทางปฏิบัติพบว่าเจ้าอาวาสวัดหลายแห่งกลับยอมส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าว นี้ให้แก่ทายาทของพระภิกษุไปหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลว่า ไม่เข้าใจว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึง จะถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเจ้าอาวาสส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางกฎหมาย โดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1623 นี้ และมาตรา 1623 นี้ ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ให้ชัดเจนว่า ให้วัดมีสิทธิและหน้าที่ตาม กฎหมายนี้ในการจัดการทรัพย์มรดกและการจัดการทำศพให้แก่พระภิกษุที่มรณภาพ ทำให้วัดหลายๆแห่ง เสียสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมายไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3