2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

133 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ การได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุในสมเพศ กาการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด ซึ่งศึกษาเฉพาะ สังหาริมทรัพย์เท่านั้น และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด โดยคำตอบ ดังกล่าวนี้ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิจัย ( Rrsearch Methoodology) ที่กำหนดไว้ ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์หาคำตอบ จึงได้ กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัย เอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research)ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-Depth Interviews) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ เกิดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและวัดใน พระพุทธศาสนา เพื่อใช้ในกิจการของพุทศาสนา อีกทั้งยังสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ อัน เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานสำนักพระพุทธศาสนา ตลอดทั้งเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3 . 1 การวิจัยเอกสาร ( Documentary Research ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ เกี่ยวข้องและต้องการนำมาใช้วิเคราะห์ อาทิ รายงานวิจัย ตำรา บทความของไทยและต่างประเทศ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรม เอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้นได้ กำหนดหัวข้อเกี่ยวกับ แนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แนวคิดเกี่ยวกับหลักสุจริต แนวคิด เกี่ยวกับหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา แนวคิดเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของเจ้าอาวาสทำ แทนวัด ทฤษฎีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หลักธรรมาภิบาล ห หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน หลักอิสระในทางแพ่ง กฎหมายที่กฎหมายการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและการบริหารจัดการ ภายในวัดของไทยและต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ 3.1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของ พระภิกษุ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3