2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

135 การได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและการบริหารจัดการวัด เพื่อใช้ในกิจการของสำนักงาน พระพุทธศาสนา เกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้ามาให้ข้อมูลใช้วิธีการเลือกผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง และโดยอ้อม ดังนี้ 1.กลุ่มผู้บริหารส่วนราชการ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ผู้อํานวยการสํานักงาน พระพุทธศาสนาประจําจังหวัดสงขลา ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีอำนาจในการตรวจสอบผู้บริหารวัดหน้าที่จัด กิจการและศาสนสมบัติของวัด รวมจำนวน 2 คน 2.กลุ่มพระสงฆ์ ได้แก่ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอําเภอ เจ้าคณะตำบล มีหน้าในกรตรวจสอบการ บริหารงานของวัดที่อยู่ในเขตอำนาจการปกครอง พระภิกษุลูกวัดซึ่งมีส่วนได้เสียในการได้มาซึ่ง ทรัพย์สินที่ผู้ที่มีจิตศรัทธานำมาถวาย รวมจำนวน 4 คน 3.กลุ่มผู้นำทางศาสนา ได้แก่ อิหม่าม คณะธรรมกิจหรือศิษยาภิบาล คณะกรรมการวัดเนื่องจาก ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการทำหน้าที่ในการบริหารในแต่ละศาสนา จำนวน 3 คน 4.ไวยาวัจกร เป็นผู้ปฏิบัติงานในฐานะเป็นกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่อยู่ในวัดมาแล้วอย่าง น้อย 2-3 ปี จำนวน 3 คน 5.กลุ่มประชาชน ผู้นับถือพุทธศาสนา โดยคำนึงถึงคุณสมบัติมีส่วนร่วมในการบริจาคทรัพย์สิน ให้กับวัดมาแล้ว รวมจำนวน 8 คน เกณฑ์คัดออกสำหรับอาสาสมัครที่ปฏิเสธการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย หรือสมัครใจแต่ต่อมา ตัดสินใจถอนตัวในขณะอยู่ในโครงการ รวมถึงคัดออกผู้ให้ข้อมูลที่มีคุณสมบัติไม่ตรงและไม่เกี่ยวข้องกับ งานวิจัย นอกจากนี้จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้มุ่งการตีความเอกสารกฎหมายเป็นหลัก ส่วนผู้ให้ข้อมูล สัมภาษณ์เป็นลำดับรอง ข้อมูลที่ได้มาจะเก็บไว้เป็นความลับไม่เปิดเผยตัวตน โดยผู้วิจัยจะนำความคิดเห็น ของผู้ให้ข้อมูลมาถอดรหัส จำแนกและสังเคราะห์ โดยนำมาประกอบกับเอกสารวิชาการและกฎหมาย เพื่อ ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์อันจะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายต่อไป ผู้วิจัยได้สร้างแบบสัมภาษณ์โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อ นำมากำหนดเป็นกรอบคำถามที่แสดงให้เห็นถึงความคิด มีลักษณะเป็นแบบโครงสร้างจะนำไปใช้ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเป็นหลักประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ 2) ประเด็นสัมภาษณ์ 3) ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ทั้ง 5 กลุ่มใช้คำถามชุดเดียวกัน มีรายละเอียด ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ - วัน เวลา และสถานที่สัมภาษณ์ - ตำแหน่งหน้าที่การงาน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม และกลุ่มตัวอย่าง(ผู้บริจาค) ส่วนที่ 2 ประเด็นสัมภาษณ์ 1) ท่านคิดว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินในระหว่างบวชของพระภิกษุในฐานะพระลูกวัด กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินควรตกเป็นของพระภิกษุหรือของวัด และควรมีวิธีจัดการทรัพย์สินที่ได้มาอย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3