2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

136 2) ท่านคิดว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินในระหว่างบวชของเจ้าอาวาสในฐานะผู้จัดการวัดกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินควรตกเป็นของเจ้าอาวาสหรือของวัด และการบริหารทรัพย์สินมีวิธีจัดการทรัพย์สินที่ ได้มาอย่างไร 3) ท่านคิดว่า คณะกรรมการวัดควรเป็นตัวแทนจากบุคคลในชุมชน ควรมีหลักเกณฑ์ในการ คัดเลือกอย่างไร 4) ท่านคิดว่า การกำหนดให้มีคณะกรรมการวัด ควรมีคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ และระยะเวลา การปฎิบัติหน้าที่ ควรมีหลักเกณฑ์อย่างไร และจำนวนกี่คนถึงมีความ 5) ท่านเห็นด้วยหรือไม่ หากมีการแบ่งคณะกรรมการออกเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด 6) ท่านคิดว่า ควรมีระบบการตรวจสอบการบริหารจัดการเงินของวัดโดยกระทรวงการคลัง จังหวัดหรือไม่ อย่างไร 7) ท่านมีความคิดเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร หากให้วัดมีการจัดทำบัญชีการเงิน รายรับ-รายจ่าย เสร็จแล้วจึงส่งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาเป็นผู้ตรวจสอบเมื่อสิ้นปี 8) ท่านคิดว่า ควรมีการเปิดเผยรายงานทางการเงินเกี่ยวกับรายรับ -รายจ่ายของวัดให้แก่ สาธารณะชนได้รับทราบหรือไม่ อย่างไร 9) ท่านคิดว่า ควรมีกลุ่มบริหารคณะสงฆ์ที่ประกอบด้วยเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และเจ้า คณะจังหวัด ทำหน้าที่กำกับ ดูแล ตรวจสอบการบริหารการเงินหรือไม่ อย่างไร 10) ท่านคิดว่า การจัดซื้อ จัดจ้างที่มีจำนวนเงินตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ควรมีการประกวด ราคาอิเล็คทรอนิกส์(E-bidding)หรือไม่ อย่างไร ส่วนที่ 3 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ หรือข้อเสนออื่นๆของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากฎหมาย เกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและการบริหารวัดเพื่อใช้ในกิจการของพุทธศาสนา 3 . 3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของ พระภิกษุซึ่งได้มาระหว่างบวชและการบริหารภายในวัด เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิง คุณภาพ ดังนี้ 1) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ตรวจสอบความตรงของ เนื้อหา (Content Validity) ของข้อคำถามแต่ละข้อเพื่อหาค่าความสอดคล้องของสิ่งที่ต้องการวัดโดย การหาค่า IOC (Index of Congruence: IOC) เพื่อพิจารณาคุณภาพของข้อคำถาม ซึ่งกำหนดให้ข้อ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3