2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

137 คำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปเป็นข้อคำถามที่มีคุณภาพเหมาะสม (สุวิมล ติร กานันท์, 2554) ผลจากการวิเคราะห์แต่ละข้อคำถามพบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC) มีค่า ระหว่าง 0.6 ถึง 1.00 ซึ่งหมายถึงข้อคำถามจากแบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้มีคุณภาพที่เหมาะสม มีความถูกต้องด้านโครงสร้างเนื้อหา ภาษา และสามารถวัดในสิ่งที่จะวัดได้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ของการวิจัย 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content of Validity) ยื่นต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับการรับรองแล้วตาม แนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่เป็นมาตราฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The Belmont Report, CIOMS Guideline และ International Conference on Harmonization in Good Clinical Practice หรือ ICH-GCPตามใบรับรองที่ COA No.TSU 2024_037 REC No.0085 เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างไป เก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวมข้อมูลตาม ประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป 3 . 4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นกระบวนการจัดการข้อมูลเพื่อทำให้ข้อมูลมีความหมาย ขึ้นมาเป็นการตีความและเป็นการหาคำอธิบายเชิงทฤษฎีจากข้อมูล (ชาย โพธิสิตา , 2564) บทที่ 4 ผลการวิจัย ซึ่งสามารถดำเนินการโดย 1.การจัดระเบียบข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการทำการจัดระเบียบข้อมูลทางกายภาพ โดยจะดำเนินการทุก ๆ เดือน เพื่อให้เกิดความสะดวกและถูกต้องในการใช้ข้อมูล โดยดำเนินการถอดเทปการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก ผู้ให้ข้อมูลหลัก และบรรณาธิการข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยการเขียนบันทึกพร้อมสรุปข้อมูล และจัดเก็บ ข้อมูลอย่างเป็นระบบแยกประเภทตามแหล่งที่มาของข้อมูล ลำดับต่อมาดำเนินการจัดระเบียบเนื้อหาข้อมูล ผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยจำแนกประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือประเภทโดยใช้เกณฑ์ตามคุณลักษณะที่ข้อมูลนั้นมีอยู่ ร่วมกันเป็นตัวจำแนก จากนั้นจึงดำเนินการให้รหัสข้อมูล (Coding) ซึ่งคือ การแตกข้อมูลออกเป็น หน่วยย่อย ๆ ตามความหมายเฉพาะของแต่ละหน่วย ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการให้รหัส ( Coding) จาก ประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยมองเห็นซึ่งจะปรากฏมาจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ซึ่งเรียกว่าเป็นการให้รหัส แบบอุปนัย (Inductive) เพื่อก่อให้เกิดความสะดวกในการหารูปแบบและหาความหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3