2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

13 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา พระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้น ณ บริเวณประเทศอินเดีย-เนปาล เผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆและ ปรับไปตามสภาพสังคมวิทยาของประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ ของประเทศไทยและคณะสงฆ์ของไทยจะยึดหลักการใหญ่ในการถือปฏิบัติอยู่ 3 ประการ คือ พระธรรม วินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง ผ่านมากว่า 2600 ปีมาแล้วที่พระพุทธศาสนาเข้ามายังประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิต่อวิถี ชีวิตของคนในสังคมทั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ ดังนั้นพุทธศาสนาเป็นแกนหลักของ อารยธรรมสยาม โดยมี พระภิกษุสงฆ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่มีหน้าที่สืบทอดและส่งเสริมพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงสืบไป ในขณะเดียวกันพระภิกษุต้องมีวัตรปฏิบัติที่ดีและอยู่ใน พระธรรมวินัย 227ข้อ อย่าง เคร่งครัด อีกทั้งต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมายของรัฐด้วยเช่นกัน ซึ่งสถาบันพระพุทธศาสนาเป็น หนึ่งในธงไตรรงค์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่เริ่มมีการใช้รัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปีพ.ศ. 2460 (ชาติ=สีแดง ศาสนา=สีขาว พระมหากษัตริย์=สีน้ำเงิน) อันเป็น 3 สถาบันหลักของชาติ ที่ชนชาวไทยทุก คนมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งความเป็นชาติ ศรัทธายึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้คงอยู่ตลอดไป แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ระบุศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติก็ตาม แต่ได้กำหนดให้ พระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ (พุทธมามกะคือ ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา) และเป็น องค์อัครศาสนูปถัมภ์ (อัครคือ เลิศ, สูงสุด ส่วนศาสนูปถัมภ์คือ ผู้ทะนุบำรุงศาสนา ดังนั้น องค์อัคร ศาสนูปถัมภกคือองค์ผู้ทะนุบำรุงศาสนาสูงสุด) ตามมาตรา 7 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกัน “รัฐต้องให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ มาช้านาน (ตามมาตรา 67 ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560)”ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสถาบัน พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก อีกทั้งองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญต่อประเทศไทยโดยคัดเลือก ให้ไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกเป็นประจำทุกปี (วัลทณา แสง ไพศรรค์, 2552) ปัจจุบันการปกครองสงฆ์ภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่4) พ.ศ.2561 การปกครองของคณะสงฆ์ในประเทศไทย ต้องการให้คณะสงฆ์จัดการ ปกครองอนุโลมตามระบอบการปกครองบ้านเมืองเท่าที่ไม่ขัดพระธรรมวินัย จากศูนย์ข้อมูลกลาง ทางด้านศาสนา ประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำนวนรวมทั้งสิ้น 54,948,885 คน คิดเป็นร้อยละ 92.52 ของประชากรทั้งประเทศ (ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา, 2564)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3