2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
139 บทที่ 4 ผลการวิจัย การวิจัยเรื่องมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและวัดใน พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ ในการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบถึงการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุ ในสมณเพศ และการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้ง คณะกรรมการวัด ซึ่งศึกษาเฉพาะสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2535 เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้รับมา อย่างโปร่งใสและรัดกุมมากยิ่งขึ้นโดยผ่านกระบวนการทางกฎหมาย อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริม ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ควรค่าแก่ความศรัทธา การเคารพนับถือและสร้างความเชื่อมั่นให้กับ ประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ผู้วิจัยได้ศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี หลักการ กฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ คำสั่ง หนังสือ บทความ วารสาร งานวิจัย ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และ เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการสัมภาชณ์เชิงลึก (In-Depth Inteviews) โดย นำผลการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้รับมาอย่างโปร่งใสและ รัดกุมมากยิ่งขึ้นโดยผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2535 และตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้ง ถอดถอนไวยาวัจกร ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหลักการมีส่วนร่วม ผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ไว้ ดังนี้ 4.1 วิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ 4.2 การได้มาซึ่งทรัพย์สินของเจ้าอาวาสในฐานะผู้จัดการวัดและการบริหารจัดการทรัพย์สิน ของวัด 4.3 หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด 4.4 ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและวัดในพระพุทธศาสนา 4 . 1 วิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ พระภิกษุถือว่าเป็นผู้ที่มีศีลธรรม จริยธรรมสูงกว่าบุคคลทั่วไปถือศีล 227 ข้อ สามเณรนับถือศีล เพียง 10 ข้อ ในขณะที่บุคคลทั่วไปถือศีลได้เพียง 5 ข้อ พระภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจึงมี หน้าที่และบทบาทสำคัญ ในการธำรงรักษาและเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ศึกษา และปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย พระภิกษุในพุทธศาสนาจึงได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาจาก พุทธศาสนิกชน เมื่อพระภิกษุถือศีลมากจึงต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด แม้ว่าพระธรรมวินัยจะมีข้อ ห้ามมิให้พระภิกษุรับเงินและทอง หากปฏิบัติตนฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระธรรมวินัย ถือว่าเป็นการอาบัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3