2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

140 ศีลข้อที่ 10 เมื่อมีศาสนนิกชนผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา ทำบุญ ทำทานเพื่อทำนุ บำรุง รักษาพระพุทธศาสนา ให้ยั่งยืน ด้วยการถวายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งของจำนวนมากให้กับวัด หรือถวายให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะเจาะจงก็ตาม ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศของพระภิกษุนี้ เกิดจากความเคารพ ศรัทธาเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งพุทธบัญญัติกำหนดไว้ว่าพระภิกษุผู้ที่บวชในพุทธศาสนาเป็นการ ละแล้วชีวิตทางโลกและเป็นผู้สืบทอดพระศาสนามีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เมื่อพระภิกษุรับเงินทอง หรือทรัพย์สินหรือวัตถุปัจจัยที่มีศาสนิกชนนำมาถวายในระหว่างบวชนั้น จึงเกิดประเด็นคำถามที่ต้อง ศึกษาว่า เงินหรือทรัพยสินที่พระภิกษุได้มาระหว่างเป็นสมณเพศควรตกเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ระหว่างพระภิกษุหรือวัด เมื่อศึกษาพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม 2 ข้อ 499 กำหนดให้พระภิกษุรับสิ่งของและปัจจัยสี่ที่ จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เรียกว่า เครื่องอัฏฐบริขาร หรือ ของใช้ที่จำเป็นแปดอย่าง ได้แก่ ผ้าสามผืน สำหรับนุ่งห่ม จีวร สบง สังฆาภิบาตร มีดโกน ประคด ที่กรองน้ำ และอื่น ๆ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ พระภิกษุประพฤติพรมจรรย์ในระหว่างบวช แต่การรับเครื่องอุปโภคบริโภคจำเป็นต้องมีขอบเขต หาก มีจำนวนมากเกินจำเป็นย่อมกลายเป็นของสะสม และเป็นบ่อเกิดกิเลสสำหรับพระภิกษุที่ไม่มีความ สำรวม ต้องสละแก่ภิกษุรูปอื่นได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และในคัมภีร์อรรกถากำหนดหลักเกณฑ์การรับ ทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินส่วนรวม กล่าวคือ 1) สิ่งของที่มีผู้มาถวายแก่พระภิกษุเป็นส่วนตัว หรือ ถวายแก่คณะสงฆ์ย่อมเป็นของส่วนรวม แต่ถ้าถวายเป็นส่วนตัวต้องพิจารณาว่าเหมาะสมตามพระวินัย หรือไม่ 2) สิ่งของที่มีผู้นำมาถวานนั้นมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก หากมีขนาดใหญ่ย่อมเป็นของ ส่วนรวม แต่ถ้ามีขนาดเล็กต้องพิจารณาว่าเหมาะสมตามพระวินัยหรือไม่ 3) สิ่งของที่มีผู้นำถวายเป็น ของมีค่ามากหรือน้อย หากเป็นของมีค่ามากย่อมเป็นของส่วนรวม แต่ถ้ามีค่าน้อยนั้นต้องพิจารณาว่า เหมาะสมตามพระวินัยหรือไม่ ทรัพย์สินที่มีศาสนิกชนทั่วไป นำมาถวายให้กับพระภิกษุโดยเฉพาะก็ ตาม อาจถือได้ว่าเป็นการทำบุญกับพระพุทธศาสนา พระภิกษุ ได้รับไว้ถือว่าเป็นการรับ ในฐานะ ตัวแทนของสงฆ์หรือวัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา797 บัญญัติว่า “สัญญา ตัวแทน คือบุคคล หนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทน บุคคล หนึ่ง เรียกว่าตัวการ แตะตกลง จะทำการดังนั้น” และมาตรา 810 บัญญัติว่า “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่น บรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้ เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ต้องให้แก่ตัวการจงสิ้น” อาจกล่าวได้ว่า การที่ศาสนิกชนผู้ใจบุญได้นำ เงินหรือทรัพย์สิน สิ่งของอื่นใดมาถวายกับพระภิกษุ ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินพระภิกษุที่รับไว้ ย่อมรับไว้ในฐาะตัวแทน และต้องส่งมอบให้กับตัวการจงสิ้น หากพระภิกษุสึกออกมากรรมสิทธิใน ทรัพย์สินย่อมสมควรตกเป็นของวัดที่ได้สังกัดอยู่ตามหนังสือสุทธิที่ระบุไว้ว่า การอุปสมบทก็เพื่อศึกษา พระธรรมวินัยตามพระพุทธศาสนา ดังนั้น การบวชเข้ามาต้องมิใช่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์หรือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3