2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

141 สร้างรายได้ให้กับตนเอง มีข้อสังเกตว่า เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้นำมาถวายพระภิกษุหากได้ระบุไว้เป็น การเฉพาะเจาะจงย่อมตกเป็นของพระภิกษุหรือไม่ เมื่อพิจารณาคัมภีร์พระธรรมวินัยปิฎก โกสิยวรรค มีสิกขาบทที่ห้ามพระภิกษุสงฆ์รับเงินและทอง มีข้อความว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่นไม่เหมาะ ไม่ สม ไม่ควรไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไฉนเธอจึงได้รับรูปียะเล่า การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อ ความเสื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสหรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว แล้วรับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึ่งยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงินหรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้เป็น นิสสัคคิยปาจิตดีย์” (มหาม กุฏราชวิทยาลัย,พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม 1 ภาค 3., n.d.; มหามกุฏราชวิทยาลัย,พระวินัยปิฎก เล่ม4 มหาวรรค ภาค1 และอรรถกถามพระวินัยปิฎก ., 2537)จากคัมภีร์พระธรรมวินัยปิฎก โก สิยวรรค แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุนั้นไม่สามารถรับทองและเงินได้ ไม่ว่าจะรับเองหรือให้ผู้อื่นรับก็ ตาม ในที่สุดแม้ยินดีก็ยังเป็นอาบัติและหากรับเงิน ทองแล้วก็ต้องเสียสละเงินทองนั้นในท่ามกลางสงฆ์ อาบัติดังกล่าวจึงจะพ้นไปได้ อาบัติชนิดนี้เรียกว่า"นิสสิคคีย์ปาจิตตีย์" หรือ "นิสสิคคิยวัตถุ" ที่แปลว่า อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อนจึงจะปลง อาบัติตก ส่วนสิ่งของที่ทำให้ต้องนิสสิคคีย์ปาจิตติย์เรียกว่า"นิสสิคคิยวัตถุ" เช่น เงินทอง ที่เป็นเหตุนั้น จำต้องสละก่อนจึงจะปลงอาบัติตก (ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์, 2553)แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุไม่ สามารถรับทรัพย์สิน เงิน ทอง หรือสิ่งของอื่นที่ได้รับจากการทำบุญของศาสนิกชนย่อมตกเป็นของ ส่วนรวม ซึ่งพระภิกษุทุกรูปมีส่วนในการตัตสินใจที่จะใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้ อนุญาตให้พระภิกษุรูปหนึ่งรูปใดรับทรัพย์สิน แต่ทรงอนุญาตให้คณะสงฆ์รับได้ หากพระภิกษุจะรับได้ ก็เฉพาะเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์หรือวัดเท่านั้น มีข้อสังเกตว่า ในพระวินัยไม่มีการห้ามหรือจำกัด ฆราวาสในการถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์เลย แต่ให้ความสำคัญกับการที่พระภิกษุเลือกรับและ จัดการสิ่งของอย่างเหมาะสม ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า พระภิกษุสามารถรับเงิน ทอง และทรัพย์สินที่ฆา รวาสถวายได้ แต่รับมาเป็นของคณะสงฆ์หรือของส่วนรวมเท่านั้น ประเด็นปัญหาที่ว่าทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาอยู่ในสมณเพศ ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาอยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ นั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม" เมื่อทรัพย์สินที่ได้มา ในระหว่างอุปสมบทนั้น ภายหลังพระภิกษุ มรณภาพให้ทรัพย์สินตกทอดแก่วัดที่เป็นภูมิลำเนาของ พระภิกษุ ส่วนตอนท้ายที่บัญญัติข้อยกเว้นให้ สามารถจำหน่าย ระหว่างชีวิตหรือทำพินัยกรรมไว้ เมื่อ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3