2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
142 พระภิกษุได้รับเงินหรือทรัพย์สินจากศาสนิกชนได้นำมาถวายทำบุญตามพระพุทธศาสนา ซึ่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นทรัพย์สินชนิดใดเพียงแต่บัญญัติว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มา ระหว่างอุปสมบทเท่านั้น ย่อมหมายความว่า ทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำบุญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทุกชนิดที่พระภิกษุได้รับมาระหว่างเป็นสมณเพศที่ได้มาจากการทำบุญใน พระพุทธศาสนาย่อมต้องตกเป็นของวัดที่พระภิกษุมีภูมิลำเนา ประกอบกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2541 ที่ดินพิพาท เป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุ ส. ได้มาในระหว่างเวลา ที่อยู่ในสมณเพศ และ พระภิกษุ ส. ไม่ได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิต หรือทำพินัยกรรมไว้เป็นอย่างอื่น ที่ดินพิพาทจึงตกเป็น กรรมสิทธิ์ของวัด ซึ่งเป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1623 ตามคำพิพากษานี้ เมื่อพระภิกษุมิได้จำหน่ายที่ดินระหว่างมีชีวิต หรือทำพินัยกรรมไว้ เมื่อพระภิกษุมรณภาพทรัพย์สินย่อมตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เป็นการ วินิจฉัยว่า ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศตกเป็นของวัด คำว่า“ทรัพย์สิน” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 หมายความว่า ทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ แม้ว่าทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างบวชเป็น สมณเพศ หากได้ทรัพย์สินมาโดยมิได้เกี่ยวกับข้องกับการทำบุญพระพุทธศาสนา แต่ได้มาจากความพึง พอใจส่วนตัวก็ตาม การได้มานั้นยังอยู่ในระหว่างบวชเป็นสมณเพศทรัพย์สินหรือเงินทองที่ได้มาควร ตกเป็นของวัดเช่นเดียวกัน เนื่องจากขัดต่อคัมภีร์พระธรรมวินัยปิฎก โกสิยวรรค ที่พระภิกษุนั้นไม่ สามารถรับทองและเงินได้ในระหว่างบวชเป็นสมณเพศโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพย์สินที่รับมานั้นจะ เกี่ยวข้องกับการทำบุญในพระพุทธศาสนาหรือไม่ก็ตาม และขัดต่อพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม 2 ข้อ 499 กำหนดให้พระภิกษุรับสิ่งของและปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เครื่องอัฏฐบริขาร หรือของ ใช้ที่จำเป็นที่เกี่ยวกับนุ่งห่ม จีวร สบง สังฆาภิบาตร มีดโกน ประคด และสิ่งของเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ กฎหมายลักษณะมฤดก บทที่ 36 ซึ่งตราไว้ว่า“มาตราหนึ่ง ภิกษุจุติจากอาตมภาพและ คฤหัสถ์จะปันเอาทรัพย์มรดกนั้นมิได้เหตุว่าเขาเจตนาทำบุญให้แก่เจ้าภิกษุเป็นของอยู่ในอารามท่าน แล้ว ถ้าเจ้าภิกษุอุทิศไว้ให้ทานแก่คฤหัสถ์ ๆ จึ่งรับทานท่านได้” ย่อมหมายความว่า เจ้ามรดกมีเจตนา ถวายทรัพย์สินให้กับพระภิกษุไว้โดยเฉพาะแล้วทรัพย์สินดังกล่าวก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่าง อุปสมบท และภายหลังที่พระภิกษุถึงแก่มรณภาพแล้วทรัพย์สินก็ตกเป็นของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของ พระภิกษุ ทรัพย์สินที่ได้มาเป็นของวัดตั้งแต่ต้น เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ว่า ทรัพย์สิน ที่พระภิกษุได้มาในระหว่างอุปสมบท และภายหลังถึงแก่มรณภาพแล้ว ทรัพย์สินก็ตกเป็นของวัดที่เป็น ภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น สอดคล้องกับคัมภีร์พระธรรมวินัยปิฎก โกสิยวรรค และพระไตรปิฎกฉบับ หลวงดังกล่าว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3