2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
143 ประกอบกับ หม่อมราชวงค์ เสนีย์ ปราโมช (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, 2551)ให้ความเห็นเกี่ยวกับ เรื่องทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศไว้ว่า กฎหมายให้ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัด ด้วยเหตุผลในทางนิตินัยและในทางศาสนาที่ว่า พระภิกษุอยู่ในสถาบันอนาถาเป็นผู้ไม่หามาหรือสะสมไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ แต่ห้ามไม่ได้ที่จะมิให้ ชาวบ้านถวายของเป็นจตุปัจจัยตามศรัทธา สิ่งของที่ชาวบ้านถวายพระถือว่าเป็นของที่เขาทำบุญใน ศาสนา ไม่ใช่สิ่งของให้แก่พระเป็นส่วนตัว เมื่อพระถึงแก่มรณภาพ กฎหมายจึงให้ตกเป็นสมบัติของวัด บทบัญญัติเช่นนี้ย่อมเป็นผลดี เพราะถ้าไม่มีบทบังคับให้ทรัพย์สินของพระภิกษุตกเป็นของวัด เมื่อ มรณภาพพระบางองค์ที่ไม่เคร่งในทางธรรมวินัย อาจขวนขวายสะสมทรัพย์สมบัติผิดต่อสมณเพศ ทำ ให้พระศาสนาเศร้าหมองและมาตรา 1623 ตัวบทไม่ได้กล่าวว่าเป็นมฤดก และจะกล่าวว่าเป็นมฤดก ของพระก็กล่าวไม่ได้ เพราะสาเหตุที่ให้ทรัพย์ของพระตกเป็นของวัด ก็เพราะถือว่าเป็นของที่ชาวบ้าน เขาทำบุญในพระศาสนา ไม่ได้ให้แก่พระเป็นส่วนตัว ในขณะที่ พินัย ณ นคร (พินัย ณ นคร, 2558) เห็นว่า การจำแนกทรัพย์สินรายการใดซึ่ง พระภิกษุได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศเป็นสินส่วนตัว พิเคราะห์ในเบื้องต้นว่า ทรัพย์สินนั้น พระภิกษุได้มาในทางศาสนกิจโดยแท้ หรือได้มาโดยมิได้เกี่ยวกับศาสนกิจเลย หากเป็นทรัพย์สินที่ ได้มาโดยศาสนกิจโดยแท้ เช่น เงินที่พุทธศาสนิกชนนำมาทำบุญหรือปัจจัยที่ได้รับจากการประกอบกิจ นิมนต์ ก็ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าพุทธศาสนิกชนประสงค์ จะถวายให้แก่พระภิกษุเป็นการเฉพาะจึงเป็น ทรัพย์ที่พระภิกษุได้มาโดยเสน่หา ทรัพย์สินดังกล่าวนี้อาจแยกได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ศาสนิกชน ต้องการ ทำบุญมากกว่าถึงแม้ว่าจะถวายให้กับพระภิกษุโดยเฉพาะ ดังนั้น ทรัพย์สินส่วนนี้สมควรจะตกทอดแก่ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุที่มรณภาพตามมาตรา 1623 จากการศึกษางานวิทยานิพนธ์ จตุนต์ ชุ่มชุมภู (จตุรนต์ ชุ่มชุมภู, 2557) เห็นว่ากฎหมาย ลักษณะมรดกบทที่ 36 วรรคแรกเมื่อมีผู้ถวายทรัพย์สินให้กับพระภิกษุไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะก็ตาม ถือว่าเป็นการทำบุญให้กับพระพุทธศาสนา กฎหมายจึงบัญญัติ ห้ามฆราวาสนำทรัพย์สินที่ได้ทำบุญหรือถวายให้กับพระภิกษุโดยเฉพาะมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน เมื่อ ภายหลังที่พระภิกษุนั้นมรณภาพแล้ว สอดคล้องกับมาตรา 1623 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินที่ได้ในระหว่าง เป็นพระภิกษุนั้น ภายหลังเมื่อมรณภาพให้ทรัพย์สินตกทอกแก่วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ กรณีเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้ เห็นว่า มีทั้งทรัพย์สินที่ได้มาจากผู้มีจิตศรัทธาทำบุญให้กับพระพุทธศาสนา กรณีนี้เห็นควรว่าให้ ทรัพย์สินที่รับมาตกเป็นของวัดที่พระภิกษุได้สังกัดตามหนังสือสุทธิระบุไว้เพื่อทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาจากผู้ที่ถวายให้โดยเฉพาะเจาะจง หรือรับมาโดยเสน่หา ควรตก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3