2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

144 เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุรูปนั้น ตามเจตนาของผู้ประสงค์จะมอบทรัพย์สินแก่วัดหรือให้เป็น สิทธิของโดยส่วนตัว ผลของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623 ให้ทรัพย์สินของ พระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาอยู่ในสมณเพศนั้น....เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จําหน่ายไปในระหว่าง มีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” นอกจากนี้ มานิตย์ จุมจำปา ให้ความเห็นเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างอยู่ใน สมณเพศเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ สามารถจำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมก็ได้นั้น หากพิจารณาถึงที่มาและเจตนารมณ์ของมาตรา 1623 ให้ถ่องแท้แล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจาก มาตรา 1623 มีที่มาจากกฎหมายลักษณะมฤดก บทที่ 36 ที่ว่า“มาตราหนึ่ง ภิกษุจุติจากอาตมภาพ และคหัถจะปันเอาทรัพย์มรดกนั้นมิได้ เหตุว่าเขาเจตนาทำบุญให้แก่เจ้าภิกษุเป็นของอยู่ในอารามท่าน แล้ว ถ้าเจ้าภิกษุอุทิศไว้ให้ทานแก่คหัถ ๆ จึ่งรับทานท่านได้” นอกจากนี้ ในบทที่ 2 ตราไว้ว่า “อนึ่ง ผู้ มรณภาพนั้น เอาสะวิญาณกะทรัพย์และอะวิญาณกะทรัพย์ไปฝากไว้ยังอารามก็ดี แลสั่งไว้ให้ทำบุญให้ ทานก็ดี และจำเภาะให้แก่เจ้าภิกษุองค์ใดก็ดี ผู้ใดจะเอาออกจากอารามนั้นมิได้ ท่านว่าผู้นั้นมิพ้นจัตุรา บาย”การที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ อาจเป็นเพราะประเพณีไทยแต่เดิม ถือกันว่าสิ่งของนั้นได้ถวาย เข้าวัดแล้วอาถรรพณ์ ใครจะเอากลับเข้าบ้านคนนั้นจะทำมากินไม่เจริญ ซึ่งมานิตย์ จุมจำปา เสนอให้ แก้ไขในหลักการมาตรา1623 ไว้ว่า “กำหนดให้ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างเวลาอยู่ในสมณ เพศนั้นให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ในการดำรงชีพของพระภิกษุ เช่น จีวร ยารักษาโรค เท่านั้นที่ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุได้”ซึ่ง สอดคล้องกับสมพรนุช ตันศรีสุข ที่เห็นว่าข้อกฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้เจ้ามรดกถวายทรัพย์สิน ของตนแก่พระภิกษุที่ตนเลื่อมใสศรัทธาและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติพระภิกษุสามารถ เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้และพระสงฆ์สามารถดำเนินการต่างๆกับทรัพย์มรดกได้ เช่น การให้คืนกลับไป ยังทายาทอื่น เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ของเจ้ามรดกฟ้องตามมูลหนี้เดิมหรือบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ อื่น ซึ่งสมพรนุช ตันศรีสุข ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมายซึ่งจำกัดสิทธิไม่ให้พระภิกษุรับและจำหน่าย ทรัพย์มรดกการรับและจำหน่ายทรัพย์สินมรดกของพระภิกษุ เสนอให้แก้ไขแนวปฏิบัติในการจัดการ ทรัพย์สินของพระภิกษุในหลักการมาตรา1623 บทบัญญัติว่า “ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่าง เวลาอยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนา เว้นแต่ พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมทั้งนี้ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่ถวายเพื่อให้ ใช้เป็นการส่วนตัว”เพื่อให้สอดคล้องกับพุทธบัญญัติแสดงให้เห็นว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายกำหนดให้ ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างเวลาอยู่ในสมณเพศนั้นที่พระภิกษุตกเป็นของวัดและสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติควรเป็นไวยาวัจกรของคณะสงฆ์ไทยมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลนิติกรรมต่างๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3