2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

145 เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พระภิกษุถือครองและเป็นผู้ดำเนินคดีในศาลแทนกรณีที่มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สิน ส่วนมาตรา 1623 บัญญัติข้อยกเว้นตอนท้ายที่ว่า“พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิต หรือโดยพินัยกรรม” การได้มาทรัพย์สินของพระภิกษุระหว่างสมณเพศ ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มา ในขณะอยู่ในสมณเพศนั้น เป็นการได้มาในฐานะส่วนตัว หรือได้มาเพราะมีผู้ให้แก่ศาสนาหรือให้แก่วัด พระภิกษุเป็นเพียงแต่ครอบครองไว้แทนนั้น เห็นได้ว่า ทรัพย์สินที่มีผู้ให้แก่พระภิกษุในขณะอยู่ในสมณ เพศนั้น อาจถือว่าเป็นของที่ให้เพื่อทำบุญในพระพุทธศาสนา ไม่ได้ให้แก่พระภิกษุเป็นการส่วนตัว เพราะถ้าไม่ใช่เป็นพระภิกษุแล้ว ย่อมจะไม่มีผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสมาทำบุญถวายทรัพย์สินให้อย่างแน่ แท้ การที่กฎหมายกำหนดทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างเวลาอยู่ในสมณเพศนั้นเป็นทรัพย์สินของ พระภิกษุนั้น อาจเป็นช่องทางทำให้บุคคลผู้เป็นพระภิกษุแต่เพียงในนาม แสวงหาผลประโยชน์ โดย การบวชเพื่อจะได้มาซึ่งเงินทองหรือทรัพย์สินเหล่านั้น ด้วยการแสดงออกให้เกิดความศรัทธาจาก ประชาชน ซึ่งการบวชเป็นพระภิกษุในลักษณะนี้เป็นเพียงพระภิกษุแต่ในนามเท่านั้น ดังนั้น ทรัพย์สิน ที่พระภิกษุได้มาระหว่างบวชเป็นสมณเพศ ย่อมถือได้ว่าเป็นของที่มีผู้ถวายให้แก่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ให้ในฐานะส่วนตัว ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้รับมาระหว่างเป็นสมณเพศจึงสมควรตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของวัดที่พระภิกษุมีภูมิลำเนา ดังนั้น การกำหนดให้พระภิกษุมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินไปในระหว่างมี ชีวิตหรือโดยพินัยกรรมที่ได้มาระหว่างเป็นสมณเพศ จากผู้มีจิตศรัทธาได้แสดงเจตนารมณ์ทำบุญ ให้กับพระพุทธศาสนา ไม่ได้ให้แก่พระภิกษุเป็นการส่วนตัวหรือโดยเฉพาะเจาะจง เห็นได้ว่าพระภิกษุ นั้นไม่สามารถจะได้จำหน่ายทรัพย์สินไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรมได้แต่อย่างใด เพราะขัด ต่อหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สำหรับมาตรา 1623 บัญญัติว่า" เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็น ภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น” จากหลักดังกล่าว เมื่อพระภิกษุจำพรรษาอยู่และมีภูมิลำเนาอยู่วัดใดเมื่อ พระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพทรัพย์สินของพระภิกษุนั้นได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศไม่ว่าจะ ได้มาโดยทางใดก็ตาม เช่น ได้รับเพราะผู้มีจิตศรัทธาถวายให้ หรือได้มาโดยการรับมรดกในฐานะ ทายาท เป็นต้น ทรัพย์สินนั้นก็ย่อมตกแก่วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุขณะถึงแก่มรณภาพนั้นทันที โดยภูมิลำเนาของพระภิกษุ คือวัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่ และสำหรับกรณีพระภิกษุธุดงค์ไปในที่ต่างๆ แล้วมรณภาพลงทรัพย์สินของพระภิกษุย่อมตกเป็นสมบัติของวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัด ดังนั้น การที่ วัดเข้ารับทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 นั้น เป็นบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษเฉพาะ โดยผลของกฎหมายตามมาตรา 1623 กล่าวคือ พระภิกษุที่ได้รับทรัพย์สินมาในระหว่างสมณเพศนั้น ไม่ว่าจะได้มาโดยทางนิติกรรมหรือโดยทางอื่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3