2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
146 นอกจากนิติกรรมก็ตาม เมื่อพระภิกษุมรณภาพ ทรัพย์สินที่พระภิกษุมีกรรมสิทธิ์อยู่ในขณะที่ มรณภาพ ย่อมตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุนั้นทันที การที่วัดได้รับทรัพย์สินตาม มาตรา 1623 จึงเป็นการได้รับโดยผลของกฎหมาย (ไพศาล ณปภัช, เงยวิจิตร ธีรศักดิ์, สุนทรพันธุ์ พร ชัย, & มาลี หนึ่งฤทัย, 2565) ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติถึงการคุ้มครองสงฆ์ไว้ใน มาตรา 67 ที่ว่า “รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นในการอุปถัมภ์และ คุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนา จิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไก ดังกล่าวด้วย” (รัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เล่ม134 ตอนที่ 40 ก ราช กิจจานุเบกษา 6 เมษายน 2560, n.d.)รัฐธรรมนูญให้ความสําคัญต่อพระพุทธศาสนาและพระภิกษุ สงฆ์โดยกําหนดบทบาท หน้าที่ให้รัฐอุปถัมภ์คุ้มครองศาสนา รวมถึงบทบาทของประชาชนในการ คุ้มครองพระพุทธศาสนาตามรัฐธรรมนูญ และมาตรา 37 “บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบ มรดก ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ” จึงเห็นได้การที่ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และประมวกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์บัญญัติไปในทางเดียวกัน คือให้มุ่งที่ดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนาและรักษาทรัพย์สินของวัด เ พราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศตกเป็นของวัด โดย พระภิกษุลูกวัดเป็นตัวแทนของวัดในการรับมอบเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งของอื่นใดที่พุทธศาสนิกชนนำมา ถวายไว้กับพระภิกษุ ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินพระภิกษุที่รับไว้ย่อมรับไว้ในฐานะตัวแทน ต้องส่ง มอบให้กับตัวการจงสิ้น หากพระภิกษุสึกออกมากรรมสิทธิในทรัพย์สินย่อมสมควรตกเป็นของวัดที่ได้ สังกัดอยู่ตามหนังสือสุทธิที่ระบุไว้ว่า การอุปสมบทก็เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตามพระพุทธศาสนา ดังนั้น การบวชเข้ามาต้องมิใช่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์หรือสร้างรายได้ให้กับตนเอง เมื่อเปรียบเทียบการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุในระหว่างบวชของสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา พบว่า The transfer of property Act 1882 พระภิกษุมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาโดยมี ผู้ถวายเป็นสินส่วนตัว และจะจำหน่ายจ่ายโอนอย่างไรก็ได้ ต่อมาหากพระภิกษุมรณภาพและมี พินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ถูกกำหนดไว้ในพินัยกรรมนั้นตกเป็นของวัดที่พระภิกษุมีภูมิลำเนา แม้ว่าพระสงฆ์ลาสิกขาแล้ว ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างบวชย่อมตกเป็นของวัด พระภิกษุไม่สามารถนำ ติดตัวออกไปได้เลย ส่วนประเทศศรีลังกา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินในพระพุทธศาสนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3