2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

147 ( The Buddhist TemporalitiesOrdinance, 1931) ทรัพย์สินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ ตกเป็นทรัพย์สินของวัด ยกเว้นทรัพย์สินที่ได้ถูกถวายให้พระภิกษุเพื่อประโยชน์ใช้ สอยของพระภิกษุรูปนั้นโดยตรง จะตกอยู่ภายใต้การดูแลของทรัสตีหรือเจ้าอาวาส และหากพระภิกษุ ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ไปในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อมรณภาพให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของวัดที่พระภิกษุ นั้นสังกัดอยู่ ยกเว้นทรัพย์สินส่วนตัวที่พระภิกษุได้รับมาโดยทางมรดก สำหรับประเทศญี่ปุ่น ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างสมณเพศเนื่องจากความสามารถหรือความพยายามของตน ตก เป็นสินส่วนตัว ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการปฎิบัติหน้าที่ เช่น รายได้จาการบริจาคหรือถวาย แก่วัด รวมทั้งของขวัญของกำนัลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แก่วัดหรือองค์กรศาสนา เป็นทรัพย์สิน ของวัด แสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างบวชเป็นสมณเพศของสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมา ประเทศศรีลังกา และประเทศญี่ปุ่นมีความเหมือนกัน ในส่วนของการให้พระภิกษุมี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ แต่เมื่อลาสิกขาหรือมรณภาพทรัพย์สินดังกล่าว จะตกแก่วัดซึ่งพระภิกษุมีภูมิลำเนา ส่วนประเทศไทยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623 กำหนดให้ทรัพย์สินของ พระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้นจำหน่ายได้ระหว่างมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้ จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม จึงเกิดความตีความและเกิดช่องว่างตามกฎหมายในการ ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปให้บุคคลภายนอก จึงเห็นว่าประเทศไทยควรนำแนวทางกฎหมายของ ประเทศศรีลังกา The Buddhist TemporalitiesOrdinance, 1931 มาบังคับใช้กับการได้ทรัพย์สิน ของพระภิกษุในระหว่างสมณเพศ ในข้อความที่ว่า ทรัพย์สินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือ สังหาริมทรัพย์เป็นของวัด รวมถึงทรัพย์สินที่วัดได้รับการถวายเพื่อให้ใช้งานเว้นแต่ทรัพย์สินส่วนตัวที่ ถูกถวายให้พระภิกษุเพื่อประโยชน์ใช้สอยของพระภิกษุรูปนั้นโดยตรง จะตกอยู่ภายใต้การดูแล ของทรัสตีหรือเจ้าอาวาส”ตามมาตรา 20 เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของ พระภิกษุในประเทศไทย ประกอบกับ ผลการสัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์ ประชากรกลุ่ม ตัวอย่างผู้นับถือพุทธศาสนา และไวยาวัจกร มีความคิดเห็นใน แนวทางเดียวกันว่า การได้มาซึ่ง ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศในฐานะพระลูกวัดควรตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด หากทรัพย์สินที่ผู้บริจาคมิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจงให้ถือเป็นสินส่วนกลางของวัด โดยที่ทุกคนใช้ ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการแยกทรัพย์สินของวัดและสินส่วนตัวได้อย่างชัดเจน ช่วยลด ปัญหาการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของวัดมาเป็นของตน เพื่อให้ทรัพย์สินที่ได้มาถูกนำไปใช้ในกิจการที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการพระพุทธศาสนา วัด หรือพระภิกษุ เท่าที่ควรจะเป็น ป้องกันและลด ความเคลือบแคลงสงสัยของพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3