2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

148 จากการวิเคราะห์เอกสาร และผลสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับประเด็นได้มาซึ่งทรัพย์สินของ พระภิกษุระหว่างบวชของพระภิกษุลูกวัดหากนำเอากฎหมายเฉพาะที่ว่าด้วยเรื่องของการจัดการ ทรัพย์สิน( The Buddhist TemporalitiesOrdinance, 1931)ของประเทศศรีลังกา มาปรับใช้กับ การได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุระหว่างบวชในฐานะพระลูกวัด โดยบัญญัติให้ทรัพย์สินของ พระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศในฐานะตัวแทนของวัด ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่พระภิกษุได้รับทรัพย์สินมาโดยเสน่หา เฉพาะเจาะจง หรือโดย พินัยกรรมกรณีการได้มาทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษให้วัด ลงทะเบียนทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐานและเมื่อต้องจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้จำหน่าย ทรัพย์สินออกจากทะเบียนโดยระบุเหตุแห่งการจำหน่ายไว้ด้วย ส่วนกรณีอสังหาริมทรัพย์ให้นำ กฎกระทรวงการดูแลและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ.2564 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ผู้วิจัยเห็นว่าหากกฎหมายบัญญัติในข้อดังกล่าวย่อมจะส่งผลดีประโยชน์ต่อพระพุทธต่อ พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และสร้างความเชื่อมั่นในการบริจาคทรัพย์สินเพื่อ นำมาใช้พัฒนาพุทธศาสนาต่อไป 4 . 2 การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด วัดในประเทศไทยมีสองอย่างตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 31 “ให้วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะ เป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป” และมาตรา 37 “เจ้าอาวาสมีหน้าที่ (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี” เจ้าอาวาสจึงมีอำนาจสูงสุดในการ บริการจัดการกิจการทั่วไปของวัดตามที่กฎหมายกำหนด ทรัพย์สินที่เจ้าอาวาสได้รับมาจากความศรัทธา ของผู้นับถือในพระพุทธศาสนาที่มีผู้บริจาคให้ จึงไม่ใช่เป็นการรับมาในฐานะตัวแทนเหมือนพระลูกวัด แต่เป็นการรับทรัพย์สินมาในฐานะเป็นผู้แทนของวัดที่มีผลผูกพันทางกฎหมายดังกล่าว และเมื่อ กฎหมายกำหนดให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่เป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ย่อมต้องจัดการทรัพย์สินที่ ได้รับมาดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่วัด เพื่อนำไปทะนุบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติ ของวัดอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด คงประสบปัญหาความไม่ชัดเจน ด้านกฎหมายที่ต้องวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ วัดในพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ให้กับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธที่เกิดจากความศรัทธา เชื่อมั่นที่มีต่อวัด และเจ้าอาวาสด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ส่งผลให้มีผู้บริจาคเงินและทรัพย์สินให้กับวัด เพื่อนำไปทำนุบำรุงศาสนาให้ดำรงสืบต่อไป จึงทำให้เจ้าอาวาส พระสงฆ์ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องภายใน วัดเล็งเห็นถึงผลประโยชน์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3