2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

14 ภาพที่ 1แผนภูมิแสดงสัดส่วนผู้นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆ (ที่มา: ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา, 2564) ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่แรงกล้านำไปสู่การบริจาคทรัพย์สิน เงิน ทองมากมายมหาศาล มี “ผลสำรวจเรื่องการทำบุญบริจาคเงิน” ของคนทั่วโลก เมื่อปี 2019 โดยผลสำรวจ… “ประเทศไทยติด 1 ใน 10 ประเทศที่คนชอบบริจาคเงินมากที่สุด” โดย“ไทยอยู่อันดับ 4” สะท้อนความใจบุญของคนไทย (เดลินิวส์ออนไลน์, 2565) จากการสำรวจการให้เงินเป็นรูปแบบของการบริจาคที่นิยมมากที่สุด (ร้อยละ 94) รองลงมาคือการทำงานจิตอาสา (ร้อยละ 58) และการบริจาคสิ่งของ (ร้อยละ43) ตามลำดับ (อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล, 2558) ให้เหตุผลหลัก 3 ประการที่ทำให้คนบริจาคมากที่สุด คือ 1.เป็นการให้ตามความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริจาคเงินพบว่าร้อยละ91 2.เป็นการให้เพราะต้องการช่วยเหลือผู้อื่นหรืออยากเห็นสังคมดีขึ้น ร้อยละ 44 3.เป็นการให้ด้วยเหตุผลส่วนตัวเช่น เพื่อความสบายใจ ร้อยละ40 การที่คนนับถือศาสนาเป็นจำนวนมากทำให้เป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพใช้ความศรัทธามาเป็นเครื่องมือ ในการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง ซึ่งปรากฎเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการเป็น เจ้าของทรัพย์ของพระภิกษุ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในขณะที่ครองสมณเพศ เป็นการได้มาในฐานะส่วนตัว หรือได้มาเพราะมีผู้ให้แก่วัดซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งพระภิกษุเพียง ครอบครองไว้แทน และมีการบริหารจัดการทรัพย์สินดังกล่าวอย่างไร ในสมัยอดีตกาลซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เท่าที่จำเป็น สามารถจำแนก วิธีการจัดการตามลักษณะการใช้ประโยชน์คือ 1. ปัจจัย 4 และบริขารของพระภิกษุ คือ อาหารจากบิณฑบาต ยารักษาโรค ผ้าบังสุกุล และที่อยู่ อาศัย (ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์, 2553) และมีอัฏฐบริขาร หรือของใช้ที่จำเป็น 8 อย่างได้แก่ ผ้าสามผืน สำหรับนุ่งห่ม คือ จีวร สบง สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม ประคด ที่กรองน้ำและอื่นๆ ที่ทรงอนุญาต เพิ่มเติม หากมีจำนวนมากเกินจำเป็นจะต้องสละให้แก่พระภิกษุทุกรูปใช้ประโยชน์ร่วมกัน (สมพรนุช ตัน ศรีสุข, 2562)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3