2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
149 เมื่อวัดในประเทศไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคล การแสดงเจตนาหรือกระทำการใดๆเพื่อให้เกิดการ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ ย่อมกระทำการผ่านเจ้าอาวาสของวัดในฐานเป็นผู้แทนหรือ ผู้จัดการวัด ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้ เจ้าอาวาสมีหน้าที่ มาตรา 37 (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เมื่อ กฎหมาย กำหนดให้เจ้าอาวาสทำหน้าที่เป็นผู้แทนของวัด เจ้าอาวาสถือเป็นตัวแทนของวัดในฐานะ ผู้จัดการวัดโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่เจ้าอาวาสได้รับมา ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับมาในฐานะ ตัวแทนของวัด เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของผู้บริจาคที่มีวัตถุประสงค์จะมอบทรัพย์สินให้แก่วัด เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อาจกล่าวได้ว่า การรับเงินหรือทรัพย์สินของเจ้าอาวาส ย่อมถือได้ว่า เป็นการแสดงออกในนามตัวแทนของนิติบุคคลหาใช่ในนามส่วนตัวไม่ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มา ของเจ้าอาวาสเป็นการทำในฐานะผู้จัดการวัด เงินหรือทรัพย์สิน อื่นๆจึงได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด เว้นแต่ ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินประสงค์ที่จะให้เป็นการเฉพาะเจาะจงหรือให้โดยเสน่หา ย่อมทำให้ เงินหรือทรัพย์สินตกเป็นทรัพย์ส่วนตัวของเจ้าอาวาสตามเจตนารมณ์ของผู้ให้ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาตรา 521 แม้ว่ามาตรา1623 กำหนดที่ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาใน ระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็น ภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” ไว้ก็ตาม แต่กรณีเจ้าอาวาสที่มีสองสถานะ คือฐานะเป็นพระภิกษุ และฐานะเป็นเจ้าอาวาส จำเป็นต้องแยกการได้มาซึ่งทรัพย์สินของเจ้าอาวาสออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ประเภทแรก หาก พระภิกษุที่เป็นเจ้าอาวาสได้รับเงินหรือทรัพย์สินมาโดยการให้โดยเสน่หาหรือเป็นการให้โดย เฉพาะเจาะจงย่อมตกเป็นกรรมสิทธิของเจ้าอาวาสชอบด้วยกฎหมายโดยนำประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 521 มาบังคับใช้ ประเภทที่สอง หากเจ้าอาวาสได้รับเงินหรือทรัพย์สินมา ย่อมรับ ในฐานะเป็นผู้แทนของวัด ตามที่กำหนดไว้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 31 เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาจึงตกเป็นของวัด เพื่อให้เจ้าอาวาสนำไปใช้ตาม วัตถุประสงค์ตาม มาตรา 37(1) เกี่ยวกับการบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัด และก่อ ประโยชน์ให้กับทางวัดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และ มาตรา 38 กำหนดอำนาจของเจ้าอาวาสเฉพาะใน ด้านของการปกครองวัดที่เกี่ยวกับการห้ามผู้ที่มิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด สั่งให้ผู้ ที่ไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด และสั่งให้ผู้ที่อยู่อาศัยในวัด ทำงานภายในวัด ตาม คำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของ มหาเถรสมาคม เพียงเท่านั้น แม้ว่ามาตรา 40 จะกำหนดให้ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท(1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของ สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดเกี่ยวกับการได้ทรัพย์สินมาระหว่าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3