2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

150 บวชของเจ้าอาวาสในฐานะเป็นผู้จัดการวัดว่ามีหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติอย่างไรให้ชัดเจน ผู้วิจัยเห็นควร กำหนดให้ “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้นในฐานะตัวแทนของวัด ย่อมตกเป็นของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่ได้มาโดยระหว่างบวชการให้โดยเสน่หา เฉพาะเจาะจง หรือโดยพินัยกรรม”อันมีลักษณะเดียวกันกับพระภิกษุที่เป็นพระลูกวัดดังได้กล่าว หลักการและเหตุผลไว้แล้วในข้อ 4.1ข้างต้น ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ กลุ่ม พระสงฆ์ ประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้นับถือพุทธศาสนา และไวยาวัจกร ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าทรัพย์สิน ของพระภิกษุที่ได้รับมาในฐานะเจ้าอาวาส ควรตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด หากเป็นทรัพย์สินที่ผู้บริจาค มิได้ระบุโดยเฉพาะเจาะจง ให้ถือเป็นสินส่วนกลางของวัดโดยให้ทุกคนมีสิทธิใช้ร่วมกัน ซึ่งทำให้ง่ายต่อ การบริหารจัดการทรัพย์สิน การแยกทรัพย์สินของวัดและสินส่วนตัวได้อย่างชัดเจน ช่วยลดปัญหาการ ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของวัดมาเป็นของตน และเสนอแนะเรื่องเกษียณอายุของเจ้าอาวาสที่ปฎิบัติ หน้าที่มาจนมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ และเสนอแนะให้ได้รับการยกย่องเชิดชูแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา เจ้าอาวาสท่านต่อไปเพราะเป็นผู้มีประสบการณ์มาก่อน ดังนั้น จึงเห็นควรอย่างยิ่งให้กฎหมาย กำหนดการเกษียณอายุของเจ้าอาวาสไว้ให้ชัดเจน ประเด็นการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด ด้วยเหตุที่มาของแหล่งที่มาของเงินหรือทรัพย์สินมา จากการบริจาคเป็นหลัก การบริหาร จัดการทรัพย์สินของวัดต้องกระทำด้วยความโปร่งใส แม้มาตรา 31 วรรคสอง กำหนดให้การดูแลรักษาและจัดการกเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส และจำต้องเป็นไป ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564 ซึ่ง กำหนดวิธีการปฏิบัติในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดไว้ในข้อ 3 “การได้ทรัพย์สินมา เป็นศาสนสมบัติของวัด ให้วัดลงทะเบียนทรัพย์สินนั้นไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อต้องจำหน่ายทรัพย์สินนั้น ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้จำหน่ายออกจากทะเบียนโดยระบุเหตุแห่งการจำหน่ายไว้ด้วย” เห็นได้ว่า ทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ กำหนดการได้มาซึ่งที่ดินหรือสิทธิในที่ดินในข้อ 3 วรรคสอง และในข้อ 5 การ ให้เช่าที่วัดที่กันไว้สำหรับเป็นที่จัดประโยชน์ ต้องจัดทะเบียนผู้เช่าหรือผู้อาศัยไว้อย่างถูกต้องตาม กฎกระทรวงกำหนดถึงระเบียบจัดการทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ไว้ชัดเจนแล้ว ส่วนทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่วัดนำไปใช้ประโยชน์ภายในวัด เช่น รถยนต์ ทอง คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ชุดเฟอร์นิเจอร์ แอร์ ทีวี ตู้เย็น รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ รวมถึงสังหาริมทรัพย์เศษ เช่น เรือกำปั่นมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวาง ตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะประเภท ช้าง ม้า วัว ควาย ล่อ กฎกระทรวงการดูแลรักษาและ จัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564 ซึ่งกำหนดวิธีการปฏิบัติในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติ ของวัดไว้ในข้อ 3 มิได้กำหนดให้วัดลงทะเบียนทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้นไว้เป็นหลักฐานการได้มา ส่งผล ให้เกิดปัญหาในการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นออกไปจากวัด ด้วยเหตุที่มิได้มีการลงทะเบียนควบคุมทรัพย์สิน นั้นไว้เป็นหลักฐาน อาจเป็นช่องทางให้บุคคลอื่นหรือบุคคลภายในวัดแสวงหาประโยชน์นำทรัพย์สินนั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3