2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

151 ไปเป็นของตน ดังนั้น จึงเห็นควรให้นำทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์เศษ ที่มีผู้ บริจาคหรือมอบให้แก่วัดเหล่านี้ นำมาจัดระเบียบบริหารจัดการด้วยวิธีการลงทะเบียนทรัพย์สินไว้เป็น หลักฐาน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการได้ทรัพย์สินมาเป็นศาสนสมบัติของวัด สำหรับการบริหารเงินของวัด ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ.2564 กำหนดในข้อ 7 “การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกินหนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้เก็บรักษาโดย ฝากธนาคารในนามของวัด หรือวิธีการอื่นใดตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด วรรคสอง การดูแลรักษาและ จัดการเงินการกุศลที่มีผู้บริจาคให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค" จะเห็นได้ว่า กฎกระทรวงฉบับ นี้กำหนดเฉพาะการเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกินหนึ่งแสนบาทเท่านั้น มิได้กล่าวถึงการเก็บรักษาเงิน ในส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทว่าจะต้องจัดการอย่างไร อาจเป็นช่องว่างให้การบริหารจัดการเงินของวัด เกิดการทุจริต แสวงหาประโยชน์ เมื่อศึกษาถึงการจัดเก็บหรือรับชำระเงินของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ข้อ 79 ที่ว่า“ในการจัดเก็บ หรือรับชำระเงิน ให้ส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บหรือรับชำระเงินนั้นออกใบเสร็จรับเงิน หรือพิมพ์ รายงานซึ่งเป็นหลักฐานการรับชำระเงินจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ตามที่กระทรวงการคลัง กำหนด..” และข้อ 78 “การรับเงินให้รับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ตามหลักเกณฑ์วิธี ปฎิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด..” เห็นในข้อ 7 วรรคสอง เห็นได้จากกรณีเจ้าอาวาสของวัดนำเงินไป ใช้ผิดวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้เกิดข้อพิพาทขึ้นในวัด ตัวอย่างเห็นได้จากวัดแห่ง หนึ่งในจังหวัดพิจิตร ที่มีข้อพิพาทยืดเยื้อกันมาหลายปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึงปัจจุบัน เพราะเหตุมี การใช้เงินวัดผิดวัตถุประสงค์ และมีคำสั่งปลดอดีตเจ้าอาวาส โดยแต่งตั้งรักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้เข้า มาบริหารจัดการเงินบริจาคและทรัพย์สินของวัด ทำให้ชาวบ้านเกิดข้อกังวลว่า จะเกิดการทุจริตยักยอก เงินนำไปใช้ผิดประเภทอีกหรือไม่ อย่างไร แสดงให้เห็นถึงอำนาจในการจัดการเงินหรือทรัพย์สินของเจ้า อาวาสที่ยังขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นการดูแลรักษาและจัดการเงินการกุศลที่มีผู้บริจาคให้เป็นไปตาม ความประสงค์ของผู้บริจาค จึงเห็นควรให้นำวิธีการและรูปแบบเช่นเดียวของข้อ 7 วรรคหนึ่งมาบริหาร จัดการ เมื่อวัดเป็นหน่วยงานดำเนินกิจการคณะสงฆ์ และกิจการพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการ บริหารเงิน และทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคควรเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจาก คลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นไปในทาง เดียวกันกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆและง่ายต่อการตรวจสอบ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกฎกระทรวงการ ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ.2564 กับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจาก คลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 พบว่ายังมีปัญหา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3