2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

155 3. ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติติดตามตรวจสอบประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ และการดูแล รักษาทรัพย์สินของวัดรวมถึงงบประมาณ จากการวิเคราะห์เอกสาร และผลสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับประเด็นการบริหารจัดการทรัพย์สิน ของวัด หากมีการบริหารจัดการเงินหรือทรัพย์สินของวัดโดยนำระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการ เบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 มา บังคับใช้โดยอนุโลม และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ทราบข้อมูลเพื่อเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้ อำนาจในการบริหารจัดการจัดของเจ้าอาวาสเหมือนกับกฎหมาย Law Relating to the Sangha Organizationขอ งสาธารณ รัฐแห่ งสหภ าพ เมียนมา ย่อมส่งผลดีประ โยชน์ต่อส ำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจการสอบการทำงานของเจ้าอาวาสได้ สร้างความ เชื่อมั่นในการบริจาคทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้พัฒนาพระพุทธศาสนาต่อไป 4 . 3 หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด เนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคลกฎหมาย ได้กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใดๆก็ได้ขึ้นเป็นไวยาวัจกรหรือผู้จัด ประโยชน์ของวัดในรูปแบบของคณะกรรมการ แต่กรรมการที่ว่ามานี้มาจากกลุ่มบุคคลที่เจ้าอาวาส เลือกเข้ามามิได้เปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารทั้งที่วัดเป็นสถานที่ของ ชุมชนและมีการบริจาคเงินจากคนในชุมชนเข้ามาส่งเสริมวัด ดังนั้นประชาชนในชุมชนจึงควรเป็น ปัจจัยสำคัญ และขณะเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการผูกขาดใช้อำนาจของเจ้าอาวาสโดยการ แต่งตั้งเครือญาติหรือผู้ใกล้ชิดที่ไม่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการในเรื่องการจัดการ ทรัพย์สินของวัด จึงนำไปสู่ปัญหาความไม่โปร่งใสของการทำบัญชี จึงเป็นช่องทางนำมาสู่การยักยอก เงิน หรือการมีผลประโยชน์ในกิจการงานของวัด เมื่อพิจารณากฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้ง ถอดถอนไวยาวัจกร ได้กำหนดวิธีการแต่งตั้งไว้ดังนี้ ข้อ 7 วรรคแรก“ ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัดใด ให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้น ปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามความในข้อ 6 เมื่อมีมติเห็นชอบในคฤหัสถ์ผู้ใดก็ให้เจ้าอาวาสแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้า คณะอำเภอ”โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการวัดกับไวยาวัจกรมา เปรียบเทียบกันจะเห็นได้ว่าการแต่งตั้งเป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าอาวาสเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ การตั้งไวยาวัจกรกฎหมายกำหนดให้เจ้าอาวาสต้องปรึกษาสงฆ์ในวัดเพื่อพิจารณาคัดเลือกลงมติ เห็นชอบก่อน เจ้าอาวาสจึงจะแต่งตั้งได้และต้องให้เจ้าคณะอำเภออนุมัติ การที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นนี้ก็เพื่อให้พระสงฆ์ในวัดได้ร่วมกันคัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาทำงานภายในวัดเรียกได้ว่าเป็นการรับ ฟังความคิดเห็นส่วนใหญ่ว่าบุคคลนั้นมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด สังเกตได้ว่าการที่กฎหมายได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3