2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

157 โดยตำแหน่งข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 นี้กฎหมายได้กำหนดเฉพาะ เพื่อประโยชน์ด้านศาสนาและโดย วิธีการเลือกกรรมการ มาตรา 30 วรรค 2 กำหนดให้สัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปี บริบูรณ์ขึ้นไปประชุมกันคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง เมื่อได้พิจารณาถึงวิธีการเลือกกรรมการประจำมัสยิด แล้วจะเห็นได้ว่าวิธีการเลือกกรรมการกฎหมายได้เข้ามากำหนดให้สัปปุรุษประจำมัสยิดที่มีอายุตั้งแต่ สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกโดยใช้วิธีการประชุมคัดเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ข้อดีของ วิธีนี้ก็คือเป็นการเปิดโอกาสให้สัปปุรุษทุกคนที่ประจำมัสยิดของท้องที่นั้นได้มีโอกาสเลือกบุคคลที่ตน คิดว่าเหมาะสมเข้าไปร่วมบริหารจัดการ และเพื่อความยุติธรรมว่าการเลือกกรรมการประจำมัสยิดจะ เป็นไปโดยถูกต้องมาตรา 30 วรรดท้าย กำหนดให้ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็น ประธานในที่ประชุมสัปปุรุษประจำมัสยิด เพื่อดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดจะ เห็นได้ว่าพระราชบัญญัติบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 ได้กำหนดไว้ชัดเจนทั้งผู้ที่มีสิทธิ เลือกและวิธีการเลือกรวมถึงการควบคุมวิธีดำเนินการดังกล่าว กรรมการคริสตจักรท้องถิ่น ที่มีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและมีการบริหารงานคล้ายกับวัด พระพุทธศาสนา โดยคริสตจักรท้องถิ่นจะมีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้ง ในการพิจารณาเลือกตั้ง ผู้ปกครองและมัคนายก แต่งตั้งคณะธรรมกิจ(มีวาระการดำรงตำแหน่ง) อนุมัติลงมติเกี่ยวกับนโยบาย และงบประมาณประจำปี ของคริสตจักรการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของคริสตจักรท้องถิ่นให้เป็นไปตาม มติของคณะธรรมกิจคริสตจักรภาค เมื่อได้นำวิธีการเลือกกรรมการวัดมาเปรียบเทียบวิธีการเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดและ ศาสนาคริสต์ ต่างมีการจัดการตามรูปแบบของตนที่ต่างกัน เนื่องจากคณะธรรมกิจของศาสนาคริสต์ ได้แก่ประชาชนในพื้นที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและสรุปยอดเงินและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดใน การบริหารจัดการเงินบริจาคของศาสนาอิสลามจะทำให้อำนาจของผู้นำสูงสุดถูกกระจายออกไป และ เป็นการถ่วงดุลอำนาจภายในองค์กรอีกทางหนึ่ง เพื่อไม่ให้อำนาจต้องถูกผูกขาดอยู่ที่บุคคลเพียงคน เดียวทั้งจะทำให้การบริหารงานเกิดความรอบคอบมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ต่างจากศาสนาพุทธตรงที่เจ้า อาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป รวมทั้งจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี โดย ไม่มีกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงเป็นผู้บริหารสูงสุดและเป็นตำแหน่งที่มี ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งภายในวัด เมื่อไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายมาตราใดกำหนดให้การบริหารจัด การเงินบริจาคของวัดจะต้องกระทำในรูปแบบคณะกรรมการ ในทางปฏิบัติเจ้าอาวาสอาจแต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการเงินบริจาคหรือไม่ก็ได้ และให้ชุมชนมมีส่วนร่วมใน การบริหารได้แค่ไหน ดังนั้น การบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดจึงมีความแตกต่างจากการบริหารจัด การเงินบริจาคของศาสนาคริสต์และอิสลามที่ต้องบริหารจัดการทรัพย์สินและเงินบริจาค โดย คณะกรรมการที่มาจากการคัดเลือกโดยตัวแทนชุมชนเท่านั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3