2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
158 เมื่อพิจารณาถึงความรับผิดของกรรมการวัดจะเห็นได้ว่ากรรมการวัดมีหน้าที่ทำทะเบียน ทรัพย์สินที่จัดประโยชน์และทำบัญชีรับจ่ายเงิน ของวัดตามกฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศา สนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564และนอกจากนี้ในทางปฏิบัติกรรมการวัดยังมีหน้าที่ในการร่วมบริหารวัด กับเจ้าอาวาส ซึ่งหากกรรมการวัดกระทำความผิดในหน้าที่ของตนโดยการยักยอกเงินของวัด หรือ แสวงหาผลประโยชน์ในกิจการของวัด เช่น เรียกรับผลประ โยชน์อื่นใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัด ซึ่งระวางโทษความผิดฐานยักยอกกฎหมายกำหนดจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และเป็นคดีที่สามารถยอมความได้ โดยหากกรณีดังกล่าวเปลี่ยนเป็นเจ้าอาวาสหรือ ไวยาวัจกรแล้วกฎหมายได้กำหนดให้มีความรับผิดเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานซึ่งเป็นความผิดฐานเจ้า พนักงานยักยอกทรัพย์มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สอง พันบาทถึงสี่หมื่นบาทหรือความผิดฐานเจ้าพนักงานรับสินบนมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต ในขณะที่ความรับผิด กรรมการวัด กฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งหมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่ง ไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้า ไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อผู้เสียหายพอใจยุติคดี ก็ย่อมทำได้ ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความ ซึ่งในกรณีของกรรมการวัดหากกระทำความผิดฐาน ยักยอกหรือแสวงหาผลประ โยชน์ในกิจการของวัด โดยจะต้องคำนึงว่าวัดเป็นสถานที่ทางศาสนาและ เป็นนิติบุคคลมหาชนที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร ดังนั้นเงินที่ได้จึงมาจากการบริจาคด้วยความศรัทธา เพื่อ ใช้ในการบริหารจัดการวัดให้มีความเจริญต่อพระศาสนาตลอดจนเป็นที่พึ่งให้แก่ชุมชน เมื่อมีบุคคลใด เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยทุจริตจึงทำให้วัดเสียหายและรวมไปถึงกระทบต่อความเชื่อมั่นในการ บริจาค ซึ่งการบริจาคในที่นี้หมายความรวมถึงเงินหรือทรัพย์ทุกชนิด เช่น สังหาริมทรัพย์ แม้กระทั้ง การนำมาซึ่งความดือดร้อนของพระภิกษุสามณรที่อาศัยอยู่ภายในวัด จึงเห็นได้ว่าความผิดของ กรรมการวัดส่งผลในวงกว้างกระทบต่อสังคม จึงควรมีลักษณะความผิดต่อแผ่นดิน นอกจากกรณีความผิดฐานยักยอกหรือแสวงหาผลประโยชน์จากวัดดังกล่าวแล้ว ยังมีกรณีที่ กรรมการได้ดำเนินกิจการงานของวัดซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อพระศาสนา เช่น การจัดงาน การกุศลเพื่อนำเงินมาบำรุงวัด (งานวัด) แต่กลับนำเงินมาแบ่งปันกันระหว่างวัดกับกรรมการโดยการ ตกลงกันให้วัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่ง ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้เมื่อได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของ วัดก็จะต้องดำเนินกิจการงานของวัดก็จะต้องมีลักษณะนำรายได้มาบำรุงดูแลวัดมิใช่นำเงินมาแบ่งปัน กัน เพราะวัดเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร จึงไม่มีการนำเงินมาแบ่งปันกันระหว่างกรรมการของวัด และเมื่อจะพิจารณาถึงความรับผิดทางอาญาก็พบว่าการกระทำของกรรมการวัดที่ได้นำเงินจากการจัด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3