2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
15 2. ทรัพย์สินอื่นๆที่ไม่ใช่บริขารของพระภิกษุ ได้แก่ ทรัพย์สินเสริมมีไว้เพื่อสนับสนุนให้การบริโภค ปัจจัย 4 ของพระภิกษุเป็นไปได้สะดวกมากยิ่งขึ้นและอาจสงเคราะห์เข้ากับปัจจัย 4 ได้โดยอ้อมในพระ วินัยปิฎกเรียกผ้าเหล่านี้ว่า บริขารโจล (นรา ถิ่นนัยธร, 2564 ) ดังนั้นจะเห็นว่าเงิน ทอง ไม่สามารถจัดประเภททรัพย์สินได้อีกทั้งยุคสมัยมีส่วนสำคัญมาก พระใน ยุคสมัยนั้นไม่รับหรือแตะต้องเงินก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ เพราะเงินไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการมากเท่ากับในยุคปัจจุบันที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนปัจจัย 4 เพราะ การไม่มีกำลัง ทรัพย์ก็อยู่ยาก ญาติโยมจึงถวายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงิน ทอง เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติ พรหมจรรย์ของพระภิกษุให้เป็นไปได้ด้วยดี โดยใช้เงินเป็นตัวกลางในการคอยอํานวยความสะดวก โดยมี วัตถุประสงค์ไม่ได้ถวายให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แต่เป็นการถวายให้พระภิกษุผู้เป็นตัวแทนศาสนา (วัด)รับไว้แทนแต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฎิบัติผู้ที่ลาสิกขามักจะนำทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างบวชออกมา ด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุที่มีปัญหา ดังนี้ 1. ปัญหาการได้มาทรัพย์สินของพระภิกษุในสมณเพศ เจตนาของผู้บริจาคมีวัตถุประสงค์จะมอบทรัพย์สินให้แก่วัดซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยมีพระภิกษุ เป็นตัวแทนของวัด ผู้บริจาคมิได้มีเจตนาให้แก่พระภิกษุรูปนั้นเป็นส่วนตัว แต่ประสงค์จะให้เพื่อบำรุง พระพุทธศาสนา จึงเป็นการบริจาคผ่านตัวพระภิกษุไปยังวัดเสมือนพระภิกษุเป็นตัวแทนวัดในรับมอบ ซึ่ง มีอำนาจทำแทนวั ด 1 แ ต่หากต่อมาพระภิกษุมรณภาพลง กฎหมายให้ทรัพย์สินของท่านที่ได้มาระหว่างอยู่ ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัด เพื่อป้องกันพระภิกษุบางรูปที่ไม่เคร่งในทางธรรมวินัยอาจขวนขวาย สะสมทรัพย์สมบัติผิดต่อสมณเพศ ทำให้พระศาสนาเศร้าหมอง (มานิตย์ จุมปา, 2566) แสดงให้เห็นว่า เจตนาของกฎหมายถือว่าเป็นของที่พุทธศาสนิกชนทำบุญในศาสนา ไม่ใช่ของให้แก่พระเป็นส่วนตัว อีก ทั้งถ้าไม่ใช่เป็นพระภิกษุ ก็จะไม่มีใครให้ จึงกล่าวได้หรือไม่ว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นสมบัติของวัด ไม่ใช่ ทรัพย์สินของพระภิกษุผู้รับการถวายและไม่ใช่สินส่วนตัวของพระภิกษุ ทำนองพระสงฆ์ที่เป็นตัวแทน และวัดเป็นตัวการในกิจการและเจ้าของทรัพย์สินการที่พระภิกษุมีสมบัติเยอะเมื่อลาสิกขาแล้วนำ ทรัพย์สินดังกล่าวติดตัวออกไปด้วยจึงเป็นการกระทำผิด เพราะการที่พุทธศาสนิกชนบริจาคทรัพย์สิน เป็นการให้พระภิกษุรับไว้เป็นตัวแทนของวัด ดังนั้น การได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุระหว่างบวชไม่มีกฎหมายข้อใดบัญญัติถึงในเรื่องของ การบริหารจัดการ การเก็บรักษา หรือการใช้ทรัพย์สินดังกล่าว มีเพียงกรณีที่ทรัพย์มรดกพระภิกษุได้มา 1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3