2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

159 งานการกุศลมาแบ่งปันกันโดยความตกลงยินยอมของเจ้าอาวาสถึงว่าเป็นการตกลงยินยอมทั้งสองฝ่าย ในเรื่องของผลประโยชน์จึงเป็นการแบ่งผลประโยชน์ตามสัญญา และการตกลงเช่นว่านั้นผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำ การอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทยไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิด นั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงการกระทำของกรรมการวัดกฎหมาย มิได้บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิด จึงถือว่าการกระทำของกรรมการวัดไม่ผิดกฎหมายเพราะ กฎหมายมิได้บัญญัติเอาไว้ จากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากรรมการวัดไม่ต้องรับผิดในทางอาญา จึงทำ ให้กรรมการวัดบางคนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากวัด ผู้ศึกษาเห็นการบริหารวัดในสมัยปัจจุบันกรรมการวัดมีความสำคัญในการบริหารวัดไม่แพ้เจ้า อาวาสหรือไวยาวัจกร แต่เมื่อได้กระทำความผิดโทษของกรรมการวัดมีลักษณะเบากว่าโทษของเจ้า อาวาสหรือไวยาวัจกร จึงทำให้เห็นว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันควบคุมเฉพาะ เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรในเรื่องของการกระทำความผิดต่อวัดเท่านั้น ควรกำหนดให้กรรมการวัดมี ความรับผิดในตำแหน่งหน้าที่ของตนที่ได้รับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานโดยมีความรับผิดเช่นเดียวกับเจ้า อาวาสและไวยาวัจกร เพราะกรรมการวัดมีส่วนในการบริหารจัดการศาสนาสมบัติของวัต ทั้งในส่วน ของบัญชี การเงิน และการจัดการในเรื่องผลประโยชน์ของวัด ดังนั้นเมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2พ.ศ.2535 ได้กำหนดให้เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงาน ตามความในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นการควบคุมในการปฏิบัติหน้าที่ จึงเห็นว่าในส่วนของ กรรมการวัดสมควรที่จะมีการควบคุมในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จากวิทยานิพนธ์เรื่อง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกรรมการวัดตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 การตั้งกรรมการวัดในฐานะผู้จัดประโยชน์ของวัดยังไม่มีรูปแบบ ที่ชัดเจนซึ่งการตั้งกรรมการวัดมีความสำคัญต่อการบริหารวัดมากเพราะวัดถือได้ว่าเป็นนิติบุคคล มหาชนและอยู่ได้ด้วยความศรัทธาหากปล่อยให้บุคคลใด ๆ ก็ได้เข้ามาบริหารก็จะทำให้วัดกลายเป็น แหล่งทำมาหากินของผู้หวังผลประโยชน์สุดท้ายวัดก็จะกลายเป็นวัดที่ดำเนินไปแบบพุทธพาณิชย์ ยังผลให้วัดเสื่อมความศรัทธาลงและนำมาซึ่งความเสื่อมเสียของพุทธศาสนา และเมื่อพิจารณา ประกอบกับทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมโดยการที่ประชาชนหรือชุมชนสามารถเข้าไปมีส่วนในการ ตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบายพัฒนาท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์จากบริการ รวมทั้งมี ส่วนในการควบคุมประเมินผลโครงการต่าง ๆ ทั้งนี้เงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนมี 2 ประการ คือ 1) ต้องมีอิสรภาพ หมายถึง ประชาชนมีอิสระที่จะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้ การเข้าร่วมต้อง เป็นไปด้วยความสมัครใจ การถูกบังคับให้ร่วมไม่ว่าจะในรูปแบบใดไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วม 2) ต้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3