2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
160 มีความเสมอภาคของประชาชนที่เข้าร่วมในกิจกรรมจะต้องมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ จะ เห็นได้ว่าตามหลักทฤษฎีการมีส่วนร่วมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการกำหนดวิธีการเลือก กรรมการซึ่งวัดเป็นศาสนาสถานที่ถือเป็นศูนย์รวมของชุมชนในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ จึงถือว่า ประชาชนในชุมชนแห่งนั้นที่วัดตั้งอยู่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนบำรุงวัด ดังนั้นรัฐจะต้อง เข้ามาจัดการกำหนดข้อกฎหมายวิธีการตั้งผู้จัดประโยชน์ของวัด (กรรมการวัด) ให้เป็นมาตรฐานเพื่อ พัฒนากฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ออกตาม ความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ให้มีความทันสมัยสืบต่อไป (พระสุชีพ เทศน์ดี, 2558) และจาก วิทยานิพนธ์เรื่อง การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา:ศึกษาเฉพาะ กรณีเงินบริจาค ผลการวิจัย พบว่าการบริหารจัดการเงินของวัดจะบรรลุสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่ กับเจ้าอาวาส เนื่องจากอำนาจการควบคุมดูแลและสั่งการอยู่ที่เจ้าอาวาสทั้งสิ้น เจ้าอาวาสอาจแต่งตั้ง คณะกรรมการวัดและไวยาวัจกรทำหน้าที่ช่วยเหลือในการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดได้โดยการ ทำคำสั่งแต่งตั้งแสดงให้เห็นได้ว่าลักษณะทั่วไปของการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดค่อนข้าง ยืดหยุ่นพอสมควรหากเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์และอิสลามที่ถูกกำหนดหลักเกณฑ์การบริหาร จัดการศาสนสมบัติไว้ในกฎหมายอย่างเคร่งครัด (กฤติน จันทร์สนธิมา,2558) การได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและวัดในพระพุทธศาสนา จะถูกใช้ประโยชน์ตามเจตนาของ พุทธศาสนิกชนหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริหารของเจ้าอาวาส เนื่องจากมีอำนาจการควบคุมดูแลและสั่ง การอยู่ที่เจ้าอาวาสทั้งสิ้น การตั้งคณะกรรมการวัดมีความสำคัญในการทำหน้าที่ช่วยเหลือในการ บริหารจัดการเงินบริจาคของวัดเพราะวัดถือได้ว่าเป็นนิติบุคคลมหาชนและอยู่ได้ด้วยความศรัทธา วิธีการเลือกกรรมการวัดซึ่งเป็นศาสนาสถานที่ถือเป็นศูนย์รวมของชุมชนในการกระทำกิจกรรมต่างๆ ควรให้ประชาชนในชุมชนแห่งนั้นที่วัดตั้งอยู่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลือกกรรมการวัด อีกทั้งไม่มี กฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับที่กำหนดให้มีคณะกรรมการวัด รวมถึงอำนาจและหน้าที่ของ คณะกรรมการวัดไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้อำนาจชุมชนเป็นคณะกรรม ในการบริหารการเงิน การกำหนดขั้นตอนวิธีการแต่งตั้งโดยรับฟังเสียงจากชุมชน คุณสมบัติ อำนาจ และหน้าที่ของกรรมการวัด นำมาใช้กับการแต่งตั้งถอดถอนคณะกรรมการวัด เพื่อประโยชน์ในการ พัฒนาวัด ในกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ออก ตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2503 เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด เพื่อรักษาทรัพย์สินของวัดและสร้างความศรัทธาน่าเชื่อถือที่มีต่อวัดใน ประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3