2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
162 จะเป็นจัดตั้งคณะกรรมการวัดโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวัด เพื่อรักษา ทรัพย์สินของวัดและสร้างความศรัทธาน่าเชื่อถือที่มีต่อวัดในประเทศไทย จากการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีการมีส่วนร่วม และงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการเงินของวัด ผู้วิจัยเห็นควรแก้ไขและเพิ่มเติม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 พ.ศ.2536ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอน ไวยาวัจกร จากเดิมใน“ข้อที่ 7 ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัดใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส วัดนั้น ปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามความในข้อ 6 เมื่อมีมติเห็นชอบใน คฤหัสถ์ผู้ใดก็ให้เจ้าอาวาสแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ” โดย แก้ไขและเพิ่มเติมข้อความใหม่ดังนี้“ข้อ 7 ในการแต่งตั้งคณะกรรมการของวัดใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของเจ้าอาวาสวัดนั้น พิจารณาจากบุคคลผู้มีความประสงค์ที่มีเป็นคณะกรรมการวัด โดยเป็น ประชาชนซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในกิจการของวัด และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ ใน ด้านบัญชี การบริหาร หรือกฎหมาย เพื่อเสนอพระภิกษุภายในวัด ไวยวัจกร และบุคคลในท้องถิ่น นั้นๆร่วมกันพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการวัด เมื่อมีมติเห็นชอบบุคคลใด ให้เจ้าอาวาสมีอำนาจ แต่งตั้งบุคคลนั้นเป็นกรรมการวัดโดยนำไปขึ้นทะเบียนขออนุมัติจากสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำ จังหวัด” เนื่องจากสำนักงานพระพุทธศาสนาหน่วยงานของรัฐมีภารกิจหลักในการดำเนินการส่งเสริม พัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแลรักษา จัดการศาสนสมบัติให้เป็นไปโดยเรียบร้อย อีกทั้งสอดคล้องมติ มหาเถรสมาคมครั้งที่ 18/2558 กำหนดให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับสำนักงาน กพร. ได้ตระหนักถึงการสร้างความโปร่งใสของวัดในด้านการเงิน กำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ ทรัพย์สินของวัดเป็น 2 ตัวชี้วัด คือ เรื่องการจัดทำรายงานทางการเงินของวัด (บัญชีรายรับ รายจ่าย) และเรื่องจำนวนวัดที่มีฐานข้อมูลศาสนสมบัติของวัดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัดครบถ้วน ซึ่งการแก้ไข และเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวจะเป็นการบริหารจัดการทรัพย์สินเนื่องจากวัดมีความศรัทธาของ พุทธศาสนิกชนเป็นฐานสำคัญของการพัฒนา ทำให้วัดระดมทุนจากเงินบริจาคตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้ จึงไม่ต้องเน้นในเรื่องการจัดหารายได้เป็นหลัก แต่วัดดำรงความเชื่อมั่นและศรัทธาของ พุทธศาสนิกชนให้คงอยู่ได้อย่างยาวนาน ย่อมเป็นจุดแข็งสำคัญต่อการพัฒนา สอดคล้องกับทฤษฎีการ มีส่วนร่วมโดยวัดมีความใกล้ชิดกับชุมชน ทำให้การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวัดจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งชุมชน ชาวบ้าน ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน เพื่อประโยชน์ในการรักษาทรัพย์สินของวัดและ สร้างความศรัทธาน่าเชื่อถือที่มีต่อวัดในประเทศไทย ผลการสัมภาษณ์ หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์ ประชากรกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธ ไวยาวัจกร มี ความเห็นไปในทิศทางเดียวเกี่ยวกับประเด็นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3