2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

163 1.ควรให้วัดทุกวัดมีผู้ดูแลจัดการเงินในรูปแบบกรรมการเพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้ อำนาจในการบริหารจัดการเงินและทรัพย์สินของวัด 2.ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมควบคุมตรวจสอบการเงินของวัด รวมถึงมีการเผยแพร่บัญชี ทรัพย์สินต่อสาธารณชนทราบเป็นประจำ เมื่อเปรียบเทียบหลักการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งคณะกรรมการวัดของสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา พบว่า The Law Relating to Sangha Organization การจัดตั้งคณะกรรมการจะต้อง ได้รับคำสั่งจาก Supreme Sangha Nayaka หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Sangha กำหนด โครงสร้างหน้าที่ และคุณสมบัติ ดังนั้นการมีส่วนร่วมโดยตรงจะถูกจำกัดในสมาคมสังฆะเนื่องจากมี การกำหนดลำดับชั้นขององค์กรพระภิกษุโดยส่วนกลาง ส่วนประเทศศรีลังกา การกําหนดแต่งตั้ง ผู้ดูแลผลประโยชน์สําหรับแต่ละวัด The Transfer of Temporalities Ordinance Act (1931)ระบุ ขั้นตอนในการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ การเสนอชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ บุคคลที่มีสิทธิเสนอชื่อผู้ดูแล ผลประโยชน์ตามมาตรา 9 หรือ 10 จำเป็นต้องเสนอชื่อตนเอง เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ และรายงาน ต่อผู้ดูแลผลประโยชน์สาธารณะ ออกหนังสือแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยทันที สำหรับประเทศญี่ปุ่น บุคคลที่จะมาเป็นกรรมการวัด มีการตราพระราชบัญญัติองค์การทาง ศาสนา Religious Corporations Act 1951 มาจากการรวมตัวกันของบุคคลที่มีความประสงค์ที่จะ ก่อตั้งองค์การทางศาสนาและจะต้องได้รับการรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสำหรับองค์การ ทางศาสนา(ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่)ทั้งกำหนดกรอบความ รับผิดชอบของตัวแทนที่รับผิดชอบในการจัดการทรัพย์สินของบริษัททางศาสนา ให้สมาชิกในชุมชนสามารถ เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณทําธุรกรรมทางการเงินและเก็บรักษาบันทึกทรัพย์สิน และแสดงความเห็นใน การจัดการทรัพย์สิน ผ่านกิจกรรมการบํารุงรักษาหรือการระดมทุน การมีส่วนร่วมนี้เสริมสร้างความผูกพัน ของชุมชนและส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมระหว่าง สมาชิกในชุมชน ส่วนประเทศไทย ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้จัดประโยชน์เอาไว้ ทำให้ได้บุคคลที่ไม่มี คุณภาพ หรือประวัติไม่ดีเข้ามาทำงาน จึงมีผลต่อการบริหารและพัฒนาวัด ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อ วัดและอยู่ได้ด้วยความศรัทธาหากปล่อยให้บุคคลใด ๆ ก็ได้เข้ามาบริหารวัด ย่อมจะทำให้วัดกลายเป็น แหล่งทำมาหากินของผู้หวังผลประโยชน์ สุดท้ายวัดก็จะกลายเป็นวัดที่ดำเนินไปแบบพุทธพาณิชย์ ส่งผลให้วัดเสื่อมความศรัทธาลง และนำมาซึ่งความเสื่อมเสียของพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่า ตามกฎ มหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 พ.ศ.2536 ข้อ7 ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ที่ใช้บังคับอยู่ใน ปัจจุบันนั้นยังมีความล้าหลังไม่พัฒนาเมื่อเทียบกับกฎหมายฉบับอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน จึงสมควรที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3