2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
164 จะต้องมีการแก้ไขเพื่อกำหนดคุณสมบัติของกรรมการวัดให้มีความชัดเจน รัฐจะต้องเข้ามาจัดการ กำหนดข้อกฎหมายวิธีการตั้งผู้จัดประโยชน์ของวัดให้มีความทันสมัยสืบต่อไป จากการวิเคราะห์เอกสาร และผลสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับประเด็นการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การจัดตั้งคณะกรรมการวัด หากมีนำเอากฎหมาย Religious Corporations Act 1951 ในส่วนที่ กำหนดกรอบความรับผิดชอบของตัวแทนที่รับผิดชอบในการจัดการทรัพย์สินและให้สมาชิกในชุมชนสามารถ เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณทําธุรกรรมทางการเงินและเก็บรักษาบันทึกทรัพย์สิน และแสดงความเห็นใน การจัดการทรัพย์สิน ย่อมส่งผลดีประโยชน์ต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความ โปร่งใสตรวจการสอบการทำงานของคณะกรรมการได้ นอกจากนี้ วัดต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของวัดให้ประชาชนที่ต้องการทราบฐานะทาง การเงินของวัด เพื่อตรวจสอบดูได้ตามสมควร มิใช่ดุลยพินิจของวัดที่จะเลือกเปิดเผยหรือไม่ก็ได้ วัดมี ฐานะเป็นนิติบุคคลจึงมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งที่จะต้องมีหน้าที่ในการเปิดเผยหรือ รายงานข้อมูลทางการเงินและทรัพย์สินให้หน่วยงานของรัฐหรือประชาชนได้รับทราบฐานะและความ เป็นไปของวัดเช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐประเภทอื่น โดยเฉพาะในส่วนของเงินที่มีผู้บริจาคให้ เป็นศาสนสมบัติของวัด เพราะเงินที่บริจาคให้กับวัดมีสถานะเป็นศาสนสมบัติของพระศาสนาซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อใช้ทำนุบำรุงศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคลต่างๆ ภายในวัด มิใช่เป็นสมบัติของ บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่จะบริหารจัดการอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจ ดังนั้น เมื่อพิจารณาตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งคุ้มครองให้ ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ เมื่อข้อมูลทางการเงินของวัดที่ถูกจัดทำขึ้นมีลักษณะ เป็นข้อมูลข่าวสารของทางราชการและไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้เปิดเผยให้ประชาชนทราบแต่อย่างใด โดยวัดควรต้องรายงานข้อมูลทางการเงินของวัดให้รับทราบนั้นได้แก่ สำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ ซึ่งมีภารกิจหลักในการดำเนินการส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแลรักษา จัดการ ศาสนสมบัติให้เป็นไปโดยเรียบร้อย จึงสมควรกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติเพิ่มขึ้น 4 . 4 ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและวัดในพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและวัดใน พระพุทธศาสนา ผู้วิจัยได้รวมรวบข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและผลการสัมภาษณ์ ในประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ การได้มาทรัพย์สิน ของเจ้าอาวาสในฐานผู้จัดการวัดการและการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด และการมีส่วนร่วมของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3