2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

165 ชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด เพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้บทบัญญัติ มาตรา 31 วรรคสองและวรรคสาม มาตรา 37(1) มาตรา 40 วรรคสาม แห่ง พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2535 ประกอบข้อ 7และข้อ 8 กฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564 และ ข้อ 7 แห่งกฎ มหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ผู้วิจัยเห็นควรจัดทำร่าง ระเบียบว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินและการบริหารจัดการของวัด พ.ศ….. ที่ครอบคลุมเนื้อหา 4 หมวด รวม 23 ข้อ โดยมีรายละเอียดและเหตุผล ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ร่างระเบียบว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินและการบริหารจัดการของวัด พ.ศ. ...” เหตุผลที่วางหลักข้อที่ 1 เป็นการระบุชื่อของ (ร่าง) ระเบียบว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินและการ บริหารจัดการของวัดพ.ศ. ....ซึ่งชื่อของระเบียบดังกล่าวสอดคล้องกับประเด็นที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เหตุผลที่วางหลักข้อที่ 2 เป็นการระบุถึงว่า (ร่าง) ระเบียบฉบับดังกล่าวนี้ จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ประกาศในราชกิจจาบุเบกษาทันที เพราะหากปล่อยให้ระยะเวลาในการบังคับใช้ปฏิบัติเนินนาน อาจจะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการทรัพย์สินและความศรัทธาของประชาชน ข้อ 3 ในระเบียบนี้ "ทรัพย์สินของวัด" หมายความว่า เงินและทรัพย์สินอื่นใดของวัด ซึ่งรวมถึงเงินและทรัพย์สินที่ ได้มาจากการบริจาคหรือการอุทิศให้ของบุคคลอื่นใด และให้รวมถึงทรัพย์สินของมูลนิธิหรือองค์กรที่ จัดตั้งขึ้นโดยวัดหรือเกี่ยวเนื่องกับวัดด้วย วรรคหนึ่ง เหตุผลที่วางหลักข้อที่ 3 เพื่อเป็นการให้ความหมายคำนิยามของคำว่า “ทรัพย์สินของ วัด” ว่าประกอบไปด้วยเงินและทรัพย์สินที่มีแหล่งที่มาจากที่ใดบ้าง “ทรัพย์สินของพระภิกษุ” หมายความว่า เงินและทรัพย์สินอื่นใดของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่าง อยู่ในสมณเพศให้ถือว่าได้รับมาในฐานะตัวแทนของวัด เว้นแต่จะเป็นการรับโดยเสน่หาหรือโดย เฉพาะเจาะจงหรือโดยพินัยกรรม วรรคสอง เหตุผลเป็นการให้ความหมายนิยามของคำว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุ” เพื่อให้ทราบ ว่า เงินและทรัพย์สินเป็นการที่ได้มาระหว่างบวชเป็นพระภิกษุ "การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด " หมายความว่า การจัดการเงินหรือทรัพย์สิน เกี่ยวกับการ รับ จ่ายเงิน เก็บรักษา เบิกเงิน รวมทั้งการตรวจสอบและการจัดทำบัญชีทรัพย์สินของวัด วรรคสาม เป็นการให้ความหมายของคำว่า “การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด” นิยามในวรรค นี้ เป็นการ ให้ความหมายที่แสดงให้ทราบว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดนั้นคืออะไร และมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3