2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
166 อะไรบ้าง โดยผู้วิจัยเห็นว่าการรับ การจ่ายเงินและการเก็บรักษา และเบิกเงิน รวมทั้งการตรวจสอบ และการจัดทำบัญชีทรัพย์สินของวัด ควรจะมีการรายงานการเงินผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์และยื่น หลักฐานการจ่ายต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ "คณะกรรมการ " หมายความว่า คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด ที่มาจากการ แต่งตั้งโดยเจ้าอาวาส ประกอบด้วยพระภิกษุลูกวัด ไวยาวัจกร และตัวแทนชุมชนท้องถิ่นโดยการ คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม รวมถึงบุคคลที่มีความรู้ด้านบัญชี และกฎหมาย เป็นคณะกรรมการ วัด รวมจำนวนเจ็ดคนโดยขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด วรรคห้า เป็นการให้ความหมายของคำว่า “คณะกรรมการวัด” นิยามในวรรคนี้ ว่าผู้เป็น กรรมการวัดควรมีคุณสมบัติอะไร มาจากกการคัดเลือกโดยกระบวนการใดและโดยบุคคลใด ข้อ 4 ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรักษาการ ตามระเบียบนี้ และให้มี อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ เหตุผลที่วางหลักข้อที่ 4 เป็นการระบุถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ที่มีอำนาจวินิจฉัยกรณี เมื่อปัญหา หรือข้อติดขัดใน (ร่าง) ระเบียบดังกล่าวนี้ เพราะขณะเวลาปฏิบัติอาจจะมีการปรับปรุง แก้ไข หรือมี การเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ (ร่าง) ระเบียบนี้ ต้องเปลี่ยนแปลงหรือต้อง ปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายต่อไปในอนาคต เห็นควรระบุผู้มีอำนาจในการ รักษาการตามระเบียบนี้ไว้ และให้ผู้รักษาการมีอำนาจหน้าที่ในการ ออกประกาศหรือคำสั่งอื่นใด เพิ่มเติมได้อีก แต่การออกดังกล่าวจะต้องเป็นการออกเพื่อประโยชน์ ในการปฏิบัติตาม (ร่าง) ระเบียบ นี้เท่านั้น ข้อ 5 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศในฐานะตัวแทนของวัด ย่อม ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่พระภิกษุได้รับทรัพย์สินมาโดยเสน่หา เฉพาะเจาะจง หรือโดยพินัยกรรม กรณีการได้มาทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษให้วัดลงทะเบียน ทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐานและเมื่อต้องจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้จำหน่ายทรัพย์สินออก จากทะเบียนโดยระบุเหตุแห่งการจำหน่ายไว้ด้วย ส่วนกรณีอสังหาริมทรัพย์ให้นำกฎกระทรวงการดูแล และจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ.2564 มาบังคับใช้โดยอนุโลม เหตุผลที่วางหลักข้อที่ 5 เป็นการกำหนดให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่าง เวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นศาสนสมบัติของวัดที่พระภิกษุสังกัดอยู่ ทำให้เกิดความชัดเจนและลดข้อ โต้แย้งว่าวัดใดจะมีสิทธิในทรัพย์สินที่พระภิกษุรูปนั้นได้มา ไม่ว่าพระภิกษุจะได้รับทรัพย์สินมาในขณะ อยู่ในวัดที่พระภิกษุสังกัดอยู่ หรือได้รับทรัพย์สินมาในขณะที่อยู่นอกวัดที่พระภิกษุสังกัด ก็ย่อมตก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3