2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
16 หลังจากอุปสมบท ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ที่ว่า “ทรัพย์สินของ พระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติ ของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่าง ชีวิต หรือโดย พินัยกรรม”ซึ่งไม่ครอบคลุมที่จะแก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างบวชในการบริหารจัดการ การ เก็บรักษา หรือการใช้ทรัพย์สินฐานะพระลูกวัดได้ การที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ไม่ได้บัญญัติถึง เรื่องการที่พุทธศาสนิกชนบริจาคทรัพย์สินให้แก่พระภิกษุ ก่อให้เกิดปัญหาว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสิน ส่วนตัวหรือเป็นการให้ตัวพระภิกษุในฐานะตัวแทนของวัด ในขณะเดียวกันประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ได้กล่าวว่าพระภิกษุมรณภาพลงในผ้าเหลืองทรัพย์สินต้องตกเป็นของวัด ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ ขัดแย้งกัน ก่อให้เกิดความสับสนในการปรับใช้ ดังนั้นจึงควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อหาแนวทางในการบริหาร จัดการทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคให้เป็นไปโดยสุจริตและมีความโปร่งใสและรัดกุมมากยิ่งขึ้นเพื่อนำ ทรัพย์สินที่บริจาคไปใช้ประโยชน์ในกิจการพระศาสนาตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค อันจะทำให้ผู้ บริจาคเกิดความสบายใจและมั่นใจว่าทรัพย์สินที่ได้บริจาคไปนั้นได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการพระ ศาสนาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย 2. ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด กรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานและเงินของวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร ที่ยืดเยื้อกัน มาหลายปี เริ่มจากปี พ.ศ.2557 หลังเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร มีคำสั่งปลดอดีตเจ้าอาวาส เนื่องจากมีการใช้ เงินวัดผิดวัตถุประสงค์ และมีการตั้งรักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้เข้ามาบริหารจัดการเงินบริจาคและ ทรัพย์สินของวัด แต่ก็มีความเห็นชาวบ้านไม่ตรงกันระหว่าง 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกไม่เชื่อใจรักษาการเจ้าอาวาส ใหม่ที่มาแทน เพราะมีพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องเงินเช่นเดียวกัน กับอีกฝ่ายที่ต้องการเข้ามาตรวจสอบ ทรัพย์สินของวัด เพื่อความโปร่งใส่ แต่เรื่องก็ยืดเยื้อมานานเกือบสิบปีจนถึงปัจจุบัน (Thaipbs, 2566) เกิดข้อกังวลว่าเจ้าอาวาสจะยักยอกเงินหรือไม่ หรือตัวอย่างลูกศิษย์คนสนิทอดีตเจ้าอาวาสใน กรุงเทพมหานครใช้อุบายหลอกลวงให้เจ้าอาวาส ซึ่งอาพาธลงลายมือชื่อในใบถอนเงินโดยเป็นการลง ลายมือชื่อ แบบไม่ใช่ใส่จำนวนเงินจากนั้นนำใบถอนเงินมาใส่จำนวนเงินที่ต้องการเอง รวมมูลค่าความ เสียหายจากการยักยอกทรัพย์ของวัด รวมกว่า 200 ล้านบาท (Pptv36, 2565) ตัวอย่าง อดีตเจ้าอาวาส จ.นครราชสีมา และ น้องสาวของเจ้าอาวาส ที่ถูกตำรวจควบคุมตัว ตั้งข้อหาร่วมกันยักยอกเงินวัดเมื่อปี พ.ศ.2563 หรือตัวอย่างจากการที่ชาวบ้านมีการร้องเรียนเรื่องเงินบริจาคต่อสำนักงานพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นพระชื่อดังในพื้นที่ มีคนเลื่อมใสศรัทธา ได้รับเงินบริจาคมาก แต่มีการใช้จ่ายไม่สมดุลกับเงิน ที่เข้ามา จึงได้มีการประสานไปยังกองปราบเพื่อตรวจสอบ โดยตำรวจระบุว่า มีทรัพย์สินที่ถูกยักยอกไป ประมาณกว่า 300 ล้าน แบ่งเป็นเงินสดที่พบในที่พักของน้องสาวของพระ 51 ล้าน เงินสดที่ขุดพบบนเขา หลังวัด 80 ล้าน ทองคำแท่งมูลค่า 19 ล้าน และเงินในบัญชีธนาคาร 130 ล้าน ต่อมามีการตั้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3