2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

173 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยนี้กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นหาคำตอบและวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการได้มา ซึ่งทรัพย์สินในฐานะพระภิกษุลูกวัด ปัญหาการได้มาซึ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าอาวาสในฐานะผู้จัดการ วัดและการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งคณะกรรมการวัด ซึ่งศึกษาเฉพาะสังหาริมทรัพย์เท่านั้น และแนวคิด ทฤษฎี และหลักการกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ สถานะของทรัพย์สินภายหลังจากการ สิ้นสุดสมณเพศกรณีลาสิกขา หลักการบริหารจัดการศาสนสมบัติ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแต่งตั้งคณะกรรมการวัดเข้ามาบริหารจัดการ เพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมมาตรการทาง กฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุในประเทศไทย จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุและวัดใน พระพุทธศาสนา พบว่า ในปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินของ พระภิกษุลูกวัดหรือเจ้าอาวาสไว้โดยเฉพาะ การจัดการกับทรัพย์สินของพระภิกษุเป็นไปตามหลัก ทั่วไปตามมาตรา 1623 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศ สามารถจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินเหล่านี้ได้ในระหว่างชีวิต สามารถทำพินัยกรรม ยก ทรัพย์สินเหล่านี้ให้แก่ใครก็ได้ รวมถึงสามารถนำกลับไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัวภายหลังจากลาสิกขาทำ ให้มีพระภิกษุบางรูปใช้ช่องทางที่เสมือนเป็นช่องโหว่นี้ในการแสวง หาทรัพย์สินจากความเชื่อความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จำหน่ายทรัพย์สินไปโนระหว่างชีวิตให้แก่ญาติพี่น้อง หรือนำติดตัวไปเพื่อ ใช้สอยภายหลังจากลาสิกขาแล้ว กรณีการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดโดยเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ได้ กำหนดวิธีจัดการทรัพย์สินโดยกำหนดให้เจ้าอาวาสตั้งไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัด ซึ่งในทาง ปฏิบัติเจ้าอาวาสจะแต่งตั้งผู้จัดประโยชน์ของวัดหรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "กรรมการวัด" เป็นผู้ดูแล จัดการในเรื่องการทำบัญชีรับจ่ายเงินของวัด ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการจัดการเงินการกุศลเพื่อใช้ ในการบริหารวัด ซึ่งมิได้เปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวัด เมื่อ อำนาจบริหารจัดการทรัพย์สินอยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าอาวาสที่คัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงาน และกฎหมาย มิได้กำหนดรูปแบบและวิธีการในการบริหารจัดการทรัพย์สิน ให้ เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสหรือ คณะกรรมการของวัดไปโดยลำพัง ไม่ต้องอยู่ในความควบคุมของหน่วยงานทางราชการซึ่งถ้าเจ้าอาวาสไม่ สอดส่องดูแลอย่างทั่วถึง วัดอาจตกเป็นแหล่งฟอกเงินของกลุ่มมิจฉาชีพ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3