2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

174 5 . 2 อภิปรายผล 5.2.1 กฎหมายเกี่ยวกับการได้มาทรัพย์สินของพระภิกษุในสมณเพศ ผลการศึกษา พบว่า จาก บทบัญญัติมาตรา 1623 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติว่า"ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่ เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดย พินัยกรรม" หลักการของกฎหมายที่อนุญาตให้พระภิกษุสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาจาก การทำบุญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ และสามารถจำหน่ายทรัพย์สินไปใน ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมถึงสามารถทำพินัยกรรมกับทรัพย์สินเหล่านั้นได้ ทำให้มีบุคคลบางคนใช้ ช่องทางที่เสมือนเป็นช่องว่างของกฎหมาย ในการแสวงหาทรัพย์สินจากบุคคลอื่นที่เคารพนับถือและ ศรัทธาเสื่อมใสในตัวพระภิกษุและพระพุทธศาสนา เมื่อพระภิกษุลาสิกขากลับสู่ความเป็นฆราวาส มี ผลให้นำทรัพย์สินเหล่านี้กลับไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัวได้อีกด้วย เมื่อพิจารณาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา797 บัญญัติว่า “สัญญาตัวแทน คือ บุคคล หนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทน บุคคล หนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการ ดังนั้น” และมาตรา 810 บัญญัติว่า “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่น บรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้ เกี่ยวด้วย การเป็นตัวแทนนั้น ต้องให้แก่ตัวการจงสิ้น” การที่ศาสนิกชนผู้ใจบุญได้นำเงินหรือทรัพย์สิน สิ่งของ อื่นใดมาถวายกับพระภิกษุ ที่รับไว้ย่อมรับไว้ในฐานะตัวแทน และต้องส่งมอบให้กับวัดที่เป็นตัวการจง สิ้น หากพระภิกษุสึกออกมากรรมสิทธิในทรัพย์สินย่อมสมควรตกเป็นของวัดที่ได้สังกัดอยู่ตามหนังสือ สุทธิที่ระบุไว้ว่า การอุปสมบทก็เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตามพระพุทธศาสนา ดังนั้น การบวชเข้ามา ต้องมิใช่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์หรือสร้างรายได้ให้กับตนเอง ผลการศึกษาประเด็นเรื่องทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศ ใน พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม 2 ข้อ 499 และคัมภีร์พระธรรมวินัยปิฎก โกสิยวรรค พบว่า พระภิกษุ สามารถรับเงิน ทอง และทรัพย์สินที่ฆารวาสถวายได้ แต่รับมาในฐานะตัวแทนของคณะสงฆ์หรือวัด เท่านั้น ทรัพย์สินที่มีผู้ให้แก่พระภิกษุในขณะอยู่ในสมณเพศนั้น อาจถือว่าเป็นของที่ให้เพื่อทำบุญใน พระพุทธศาสนา ไม่ได้ให้แก่พระภิกษุเป็นการส่วนตัว 5.2.2 การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด พบว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินของเจ้าอาวาส จำเป็นต้องแยกการได้มาซึ่งทรัพย์สินของเจ้าอาวาสออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ประเภทแรก หาก พระภิกษุที่เป็นเจ้าอาวาสได้รับเงินหรือทรัพย์สินมาโดยการให้โดยเสน่หาหรือเป็นการให้โดย เฉพาะเจาะจงย่อมตกเป็นกรรมสิทธิของเจ้าอาวาสชอบด้วยกฎหมาย ประเภทที่สอง หากเจ้าอาวาส ได้รับเงินหรือทรัพย์สินมา ย่อมรับในฐานะเป็นผู้แทนของวัดตามที่กำหนดไว้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3