2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
175 พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 31 เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาจึงตกเป็น ของวัด เพื่อให้เจ้าอาวาสนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 37(1) เกี่ยวกับการบำรุงรักษาวัด จัด กิจการและศาสนสมบัติของวัด และก่อประโยชน์ให้กับทางวัดตามที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงเท่านั้น แม้ว่ามาตรา 40 จะกำหนดให้ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัด หนึ่ง การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดเกี่ยวกับการได้ทรัพย์สินมาระหว่างบวชของเจ้าอาวาสใน ฐานะเป็นผู้จัดการวัดว่ามีหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติอย่างไรให้ชัดเจน กรณีการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด จากการวิเคราะห์พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กฎกระทรวงที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎหมายเถรสมาคม โดยมาตรา 40 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้บัญญัติไว้ว่า “การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง” อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัตินี้ ออกกฏกระทรวงการดูแลรักษา และจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ.2564 แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับศาสนสมบัติของวัด โดยเฉพาะปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์สินและเงินบริจาค เพราะกำหนดวิธีการปฎิบัติในการดูแล และจัดการศาสนสมบัติของวัดประเภทอสังหาริมทรัพย์โดยให้ลงทะเบียนทรัพย์สินเป็นหลักฐานการ ได้มา และระบุเหตุในการจำหน่ายออกไว้ในทะเบียนทรัพย์สินของวัด เช่น ข้อ 3 “การได้ทรัพย์สินมา เป็นศาสนสมบัติของวัด ให้วัดลงทะเบียนทรัพย์สินนั้นไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อต้องจำหน่ายทรัพย์สิน นั้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้จำหน่ายออกจากทะเบียนโดยระบุเหตุแห่งการจำหน่ายไว้ด้วย” เห็นได้ว่า ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ กำหนดการได้มาซึ่งที่ดินหรือสิทธิในที่ดินในข้อ 3 วรรคสอง และใน ข้อ 5 การให้เช่าที่วัดที่กันไว้สำหรับเป็นที่จัดประโยชน์ ต้องจัดทะเบียนผู้เช่าหรือผู้อาศัยไว้อย่าง ถูกต้องตามกฎกระทรวงกำหนดถึงระเบียบจัดการทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ไว้ชัดเจนแล้ว ส่วนทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์และเงินที่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท มิได้กำหนดให้วัดลงทะเบียน ทรัพย์สินดังกล่าวไว้ป็นหลักฐานการได้มา หรือจำหน่ายออกไป ให้เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสหรือตัว แทนที่จะจัดการหาประโยชน์ของวัดไปโดยลำพัง ไม่ต้องอยู่ในความควบคุมของหน่วยงานทางราชการ ซึ่งถ้าเจ้าอาวาสไม่สอดส่องดูแลอย่างทั่วถึง วัดอาจตกเป็นแหล่งฟอกเงินของกลุ่มมิจฉาชีพ เพื่อให้การบริหารจัดการเงินของวัดมีประสิทธิภาพ ควรนำวิธีการและรูปแบบระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการ นำเงินส่งคลัง พ.ศ.2562 มาใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อวัดเป็นวัดเป็นหน่วยงานปกครองและหน่วยงาน ดำเนินกิจการคณะสงฆ์ และกิจการพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุด การบริหารเงินและทรัพย์สินควร เป็นไปตามระเบียบของรัฐเพื่อความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ การ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3